ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สิงห์ กาญจนอารี พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วัลลภา ดิษสระ อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จิฑาภรณ์ ยกอิ่น อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, การบริโภคอาหาร, อาหารที่มีโซเดียม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยนำ ปัจจัยเสริมหรือปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเอื้อ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของประชาชน และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตัวอย่าง 4,126 คน วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม 4 ส่วน ได้แก่ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อหรือปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม มีค่าแอลฟ่าครอนบาช เท่ากับ 0.921 วิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา Odds ratio และ Multiple logistic regression

     ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรค ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 50.90 และ 50.97) ส่วนการรับรู้ความสามารถของตนเอง อยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 50.92) การเข้าถึงอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารลดโซเดียมอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 58.41) แรงสนับสนุนทางสังคมในการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 50.53) พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 55.45) เมื่อวิเคราะห์โดยการควบคุมตัวแปร พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมของประชาชน ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ ความเพียงพอของรายได้ ระดับการศึกษา การประกอบอาหารรับประทาน การมีโรคประจำตัว การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคม

     ฉะนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชควรส่งเสริมให้ประชาชนมีการรับรู้การบริโภคอาหารที่มีโซเดียม และให้เครือข่ายในชุมชนสนับสนุนลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียม

 

References

Department of Disease Control, Ministry of Health. (2016). Strategy for reducing salt and sodium consumption in Thailand, 2016-2025. Nonthaburi. [In Thai]

Green, L. and Kreuter, M. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. (4th ed.). New York: McGraw Hill.

Grillo, A., Salvi, L., Coruzzi, P., Salvi, P., & Parati, G. (2019). Sodium intake and hypertension. Nutrients, 11(9), 1970. https://doi.org/10.3390/nu11091970.

Intersalt Cooperative Research Group. (1988). Intersalt: An international study of electrolyte excretion and blood pressure. Results for 24 hour urinary sodium and potassium excretion. BMJ. 297, 319–328.

Kanhasura, S. and Chupanit, P. (2023). High sodium diet intake behavior and related factors among adults in Me-Aaung district, Udonthani province. Academic Journal of Community Public Health, 9(4), 154-165.

Komcheab, J. (2013). The relationship between knowledge, perception of barriers, perception of benefits of social support, perception of self-efficacy, and sodium salt consumption behavior of patients with heart failure. Master's thesis in nursing

science. Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai]

Muangpe, P. and Jariya, W. (2023). Predictive factors of reducing salt and sodium consumption behavior among people with risk of hy¬pertension in Nong Phai district, Phetchabun province. Journal of Health Science, 32(1), 19-30.

Nakhon Si Thammarat Provincial Health Office. (2024). Demographic data. Nonthaburi: Ministry of Health. [In Thai]

Non-Communicable Diseases Division. (2023). Guidelines for implementing salt and sodium consumption reduction at the provincial level. Department of Disease Control, Ministry of Health. [In Thai]

Poonsri, Moungkum, S., & Masingboon, K. (2024). Factors influencing eating behavior among people with type 2 diabetes mellitus. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 32(1), 14-25.

Promkaew, O., Luansri, M., Khrongyut, R., & Jaisoosuek, W. (2022). A study of assessing knowledge, awareness, and sodium consumption behavior of population in a village in Ubon Ratchathani province. The Office of Disease Prevention and Control 9th Nakhon Ratchasima Journal, 28(1), 5-15.

Strategy and Plans Group Bureau of Non-Communicable Diseases. (2017). Department of Disease Control. 5-year national NCD prevention and control strategic plan (2017 – 2021). Bangkok, Emotion Art. [In Thai]

Tirakanan, S. (1999). Social science research methodology: Guidelines for implementation. Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai]

Thirakulpharit, P. (2016). Factors affecting sodium consumption behavior of households at Bangmak sub-district, Kantang district, Trang province. Trang: Sirindhorn College of Public Health, Trang. [In Thai]

World Health Organization. (2017). Best buys and other recommended interventions for the prevention and control of noncommunicable diseases. Geneva: World Health Organization.

Woraphongsathorn, S. (2015). Research in health education. Bangkok: Printing Section Ramkhamhaeng University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2024