ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ที่มีต่อความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกช่างอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • ฐิติยา แย้มนิ่มนวล
  • ระพินทร์ ฉายวิมล
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล

คำสำคัญ:

ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค, นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกช่างอุตสาหกรรม, การให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์, Adversity quotient, vocational certificate level students in department of industry, Gestalt group counseling

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์ที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  แผนกช่างอุตสาหกรรม  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ  แผนกช่างอุตสาหกรรม   ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ที่มีระดับคะแนนจากแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา  สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบวัดความความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคและโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีเกสตัลท์  ผู้วิจัยดำเนินการทดลองการให้การปรึกษากลุ่มจำนวน 12 ครั้ง  ครั้งละ 60 นาที  โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองสองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ  แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ  คือ  ระยะก่อนการทดลอง  ระยะหลังการทดลอง  และระยะติดตามผล  วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่ง

ตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม  และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธีทดสอบแบบบอนเฟอร์โรนี่

ผลการศึกษาพบว่า  มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนกลุ่มทดลองมีระดับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนในกลุ่มทดลองมีความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

This research aimed to study the effects of Gestalt group counseling on adversity quotient of vocational certificate level students in department of industry. The sample composed of vocational certificate level students in department of industry at SattahipTechnicalCollege,  Chon Buri province who had score on the adversity quotient less than 25th percentile. The random sampling method was adopted to assign sample into two groups: an experimental and a control, ten students in each. The instruments used in this research were the measure of adversity quotient and The Gestalt group counseling program. The experiment counseling consisted of 12 sessions, each session take about 60 minutes long. The research design was two - factor experimental design with repeated measures on one factor. The study was divided into three phases: the pretest phase, the posttest phase and the follow - up phase. The data were then analyzed by repeated measure analysis of variance: one between - subject variable and one within - subject variable and testing the difference among mean by the Bonferroni Method.

                The results revealed that there was a statistically interaction at .05 levels between the method and the duration of the experiment. The participants in the experimental group developed higher adversity quotient than those in the control group in the posttest and the follow - up phases with the statistical significance at .05. The adversity quotient of participants in the experimental group was found to be higher at the posttest and the follow - up phases than of the pretest with the statistical significance at .05.

Downloads