ผลการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถ ความคาดหวังในผล และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นชายตอนต้น

ผู้แต่ง

  • วันดี ทับทิมทอง
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
  • พรนภา หอมสินธุ์

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่, วัยรุ่นชายตอนต้น, Promoting self-efficacy, smoking avoidance behavior, early male adolescents

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสร้างเสริมสมรรถนะ   แห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ความคาดหวังในผลของการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นชายตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนอายุ  11-14 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-2  จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน โดยคัดเลือกโรงเรียนและกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  กลุ่มทดลองได้รับการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล  การรับรู้ความสามารถของตนเอง  ความคาดหวังในผลของการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือแต่ละชุดมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .70  ถึง .94   เก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลอง  1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติพรรณนา  การทดสอบค่าที และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)

      ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ความคาดหวังในผลของการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  ความคาดหวังในผลของการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่  หลังการทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม  แสดงให้เห็นว่า การเพิ่มสมรรถนะแห่งตนผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สามารถส่งเสริมให้วัยรุ่นชายตอนต้นเกิดการรับรู้ความสามารถของตน คาดหวังในผลและมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่มากขึ้น ดังนั้น กิจกรรมนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างให้วัยรุ่นชายตอนต้นได้มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ที่เหมาะสมต่อไป

     The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of promoting self-efficacy on perceived self-efficacy, outcome expectation and smoking avoidance behavior of early male adolescents. The sample of 60 students aged 11-14 years  in mattayomsuksa 1 to 2 were divided into experimental and control group (30 students for each group). Multistage random sampling technique was used to select schools and subjects. The experimental group received the promoting self-efficacy with participatory learning for 5 weeks. The experimental instruments included an activity plan, models and information sheets. The instruments for collecting the data included personal data questionnaire, self-efficacy perception questionnaire, outcome expectation questionnaire, and smoking avoidance behavior questionnaire with the reliability of each instrument between .70 and .94. Data were collected before and one month after the experiment. Descriptive statistics, independent t-test and analysis of covariance were performed to analyze the data.

     The results revealed that, after the intervention the mean scores of perceived self-efficacy, outcome expectation, and smoking avoidance behavior in the experimental group were statistical significantly different from the control group with higher scores than those of the control group. The promoting self-efficacy with participatory learning can improve perceived self-efficacy, outcome expectation and smoking avoidance behavior in early male adolescents. Therefore , the promoting self- efficacy should be applied for smoking avoidance behavior in early male adolescents.

Downloads