ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • สุดจิต ไตรประคอง
  • วัชรีย์ ไตรประคอง
  • กมลทิพย์ ถาวรประสิทธิ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกำลังกาย ปัจจัยการทำนายการออกกำลังกาย บุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล, Exercise behavior, predictive factors of exercise, nursing department personnel

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกาย  ความสัมพันธ์ และอำนาจการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรฝ่ายบริการพยาบาลทุกตำแหน่งจำนวน 285 คนโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 1)ข้อมูลทั่วไป 2)การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย 3)การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย 4)การรับรู้ความสามารถในการออกกำลังกาย 5)การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวในการออกกำลังกาย 6)พฤติกรรมการออกกำลังกาย เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยการวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องภายใน ได้ค่าครอนบาคแอลฟ่าเท่ากับ .86  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการศึกษาพบว่า

     1. พฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวในการออกกำลังกายของบุคลากรฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์อยู่ในระดับปานกลาง การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายอยู่ในระดับมากและการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับน้อย 

     2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.16, p<.05 และr=.19, p<.01ตามลำดับ) ส่วนเพศ การศึกษา ศาสนา สถานภาพ ตำแหน่ง รายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (p>.05)

     3. การรับรู้ประโยชน์ และการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (r=.31, p<.01 และ r=.34,  p<.01 ตามลำดับ) การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.55, p<.01) และการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.35, p<.01)

     4. การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้อุปสรรค และการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัว สามารถร่วมทำนายความผันแปรของพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากร ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้ร้อยละ 33.1 (F=4.375, df =   p<.001) และการรับรู้ความสามารถของตนเองเป็นปัจจัยการทำนายการออกกำลังกายที่ดีที่สุด รองลงมาคือการรับรู้อุปสรรคและการสนับสนุนทางสังคม ตามลำดับ

     ผลการศึกษาให้ข้อเสนอสำหรับฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ในการกำหนดนโยบายและกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกายที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่องให้กับบุคลากร เช่น การขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์  การเดินหรือขี่จักรยานแทนการใช้รถยนต์ และการเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายที่หลากหลาย เช่น แอโรบิค  เดินเร็ว  วิ่ง ฯลฯ   

     This predictive research aimed to study the exercise behavior, and to examine the relationship as well as the predicting ability of personal factors, perceived benefits, perceived barriers, perceived physical self-efficacy and perceived family support to exercise behavior of the staff working at nursing service department, Songklanagarind Hospital. The stratified sampling technique was used to select 285 subjects. The research instrument was a self-report questionnaire which consisted of six parts; 1) demographic data, 2) perceived benefits, 3) perceived barriers, 4) perceived physical self-efficacy, 5) perceived family support, and 6) exercise behavior. The questionnaire was content validated by experts. Internal consistency reliability was tested. The Cronbach’s coefficient alpha of the questionnaire yielded .86. The data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The results demonstrated that:

     1. The exercise behavior included, both of perceived physical self-efficacy and perceived family support to exercise behavior of the nursing service department staff was at a medium level, whereas perceived benefits was at a high level, and perceived barriers was at a low level.

2. Personal factors, age and working experience revealed a low-level statistically significant positive relationship with exercise behavior (r=.16, p<.05 and r=.19, p<.01 respectively). However, there was no statistically significant relationship between personal factors such as gender, education, region, status, position, and income and exercise behavior (p>.05).

3. Perceived benefits and perceived family support had a low-level statistically significant positive relationship with exercise behavior (r=.31, p<.01 and r=.34, p<.01 respectively). While, perceived physical self-efficacy had a moderate statistically significant positive relationship with exercise behavior (r=.55, p<.01) and perceived barriers yielded a low-level statistically significant negative relationship with exercise behavior (r=.35, p<.01).

     4. The perceived physical self-efficacy together with perceived barriers and perceived family support were statistically significant predictors of exercise behavior at 33.1 % (F=4.375,  p<.001) in which the perceived physical self-efficacy was the strongest predictor.

     The findings indicate that Nursing Service Department of Songklanagarind Hospital should develop the practical and feasible campaign and policy to enhance the exercise behavior of the staff continually. The campaign activities include walking up stairs instead of taking elevator, cycling, walking instead of driving, and participating in various exercise activities such as aerobic exercise, jogging and running. 

Downloads