ประสบการณ์การดูแลตนเองของสตรีที่มีภาวะเลือดออกก่อนคลอดจากรกเกาะต่ำ

ผู้แต่ง

  • บุญมี ภูด่านงัว
  • เกื้อพันธ์ กลั่นการดี
  • รำไพ เกตุจิระโชติ

คำสำคัญ:

การดูแลตนเอง, เลือดออกก่อนคลอด, รกเกาะต่ำ, Self- care experiences, antepartum hemorrhage, placenta previa

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ  

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองของสตรีที่มีภาวะเลือดออกก่อนคลอดจากรกเกาะต่ำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่มีประสบการณ์มีภาวะเลือดออกก่อนคลอดจากรกเกาะต่ำจำนวน  9 ราย ระหว่างเดือนพฤษภาคม – พฤศจิกายน 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้วิจัย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์ที่มีแนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีการดูแลตนเอง ดังนี้ 1) การใช้ศักยภาพตนเองให้เต็มที่ 2) การจัดการเรื่องงาน 3) การเชื่อแพทย์เพราะต้องการความปลอดภัย และ 4) การดูแลจิตใจ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ พยาบาลควรส่งเสริมให้สตรีที่มีภาวะเลือดออกก่อนคลอดจากรกเกาะต่ำใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในการดูแลตนเอง ตระหนักถึงปัจจัยสนับสนุนหรืออุปสรรคต่อการดูแลตนเอง รวมทั้งใช้แหล่งสนับสนุนทางสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง

 

Abstract

          The objective of this research was to study the self-care experiences of women who have been diagnosed with antepartum hemorrhage from placenta previa. Data was collected from nine participants who have experienced prenatal bleeding from placenta previa by using in-depth interviews from May to November 2014. The research instrument was the researcher, personal questionnaires and semi-interview guideline. Data was analyzed by using the content analysis. The findings revealed that the participants have been self- care as follows: 1) Using the ability of oneself at the highest level of their potential; 2) Managing their works; 3) Following as the doctor suggestion, and 4) Taking care of their mind. The recommendations from this study concluded that nurses should encourage women,  who have prenatal bleeding from placenta previa, by using existing potential for self-care; aware of the factors or barriers to self-care, and provide social support in order to promote the mother’s ability to take care of themselves.

Downloads