ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น*

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ ตามเที่ยงตรง
  • ศิริวรรณ แสงอินทร์

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ การรับรู้อุปสรรค, การรับรู้ความสามารถ, การสนับสนุนทางสังคม, Pregnant adolescents, nutrition health-promotion behaviors, perceived barrier, perceived self-efficacy, social support

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยนำแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์มาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 97 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบนำเข้า

           ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด (การรับรู้อุปสรรคในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ และการสนับสนุนทางสังคม) สามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้ร้อยละ 38.8  (F3, 93 = 19.638, p < .001) โดยการรับรู้อุปสรรคในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการรับรู้ความสามารถของตนเองในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการสามารถทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ß = -.374, ß = .386, p < .001 ตามลำดับ) การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลพัฒนารูปแบบการพยาบาล โดยส่งเสริมความสามารถ และลดอุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการที่ดียิ่งขึ้น





The purposes of this predictive correlational research were identify nutritional health-promoting behavior and factors predicting nutritional health-promoting behavior among pregnant adolescents.  The Health Promoting Model was use as a conceptual framework in the study.  The samples were 97 pregnant adolescents, who attending antenatal care at hospitals under Bangkok Metropolitan Administration.  A multi-stage random sampling was used to recruit the sample.  Data were collected from the end of May and June 2016.  The questionnaires used to collect the data composed of demographic data, perceived barrier, perceived self-efficacy, social support and nutritional health-promoting behavior.  Descriptive statistics and enter method multiple regression were used for data analysis.

           The findings showed that average score of nutritional health-promoting behavior among pregnant adolescents were a good level.  The percentage of total variance explained by all study variables (perceived barrier, perceived self-efficacy and social support) was 38.8 percent (F3, 93 = 19.638, p < .001). The significant variables which predicted nutritional health-promoting behavior including perceived self-efficacy and perceived barrier (ß = -.374, ß = .386, p < .001, respectively).  This study suggests that nurse should develop a nursing intervention to enhance self-efficacy and reduce barrier in order to promote nutritional behavior among pregnant adolescents.


Downloads