ผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่อความหวังและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • บุศรา สุขสวัสดิ์
  • ภรภัทร เฮงอุดมทรันย์
  • ชนัดดา แนบเกษร

คำสำคัญ:

ความหวัง, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุในชุมชน, โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรม, Hope, Depression, Community-Dwelling Older Adults, Cognitive Behavioral Modification Program

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มต่อความหวังและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ

มีภาวะซึมเศร้าระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 24 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฯ แบบกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ประเมินโดยใช้แบบวัดความหวังของ Herth (1992) และแบบวัดภาวะซึมเศร้าของ Beck (1979) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .76 และ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติที วิเคราะห์ความแปรปรวน

สองทางแบบวัดซ้ำ

            ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความหวังและภาวะซึมเศร้าในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น และระยะติดตามผลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความหวังหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน

สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน ต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรมแบบกลุ่มนี้ ช่วยเพิ่มความหวังและลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำโปรแกรมฯ ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุได้

 

            The purposes of this quasi-experimental study were to examine the effects of group cognitive behavioral modification program on hope and depression among community-dwelling older adults who had mild to moderate depressive levels. The sample consisted of 24 older adults. They were randomly assigned into experimental and control groups (n = 12 in each group). Older adults in the experimental group participated in the group cognitive behavioral modification program, whereas those in the control group received only routine care from the same setting. Instruments included Thai version of Herth Hope Index (Herth, 1992) and Beck’s depression scale (Beck, 1979). These scales yielded Cronbach’s alpha of .76 and .90.  Descriptive statistics using frequency, percentage, means, standard deviation, independent t-test, two-way repeated measure ANOVA.

            The results revealed that the mean scores of hope and depression at post- test and 1 month follow-up in the experimental group were significantly different from the control group (p < .01). In the experimental group, the mean scores of hope at post-test and 1 month follow-up were higher than the scores at a pretest

(p < .001). In the experimental group, the mean scores of depression at posttest and 1 month follow-up were lower than at pretest (p < .001). The group cognitive behavioral modification program applied in this study effectively enhanced hope and reduced depression among these older adults. Thus, health professionals could apply this program in order to enhance mental health of this aged group.

Downloads