สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ ของพยาบาลในการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เขตพื้นที่ตะวันออก (Health Promoting Competencies and Performances of Nurses in Primary Care Unit, the Eastern Region)

ผู้แต่ง

  • สุธารัตน์ ชำนาญช่าง
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

คำสำคัญ:

บทบาทพยาบาล, สมรรถนะพยาบาล, การสร้างเสริมสุขภาพ, การบริการระดับปฐมภูมิ, Nurse competency, nurse performance, health promoting, primary care unit

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการบริการระดับปฐมภูมิ พื้นที่ภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานบริการระดับปฐมภูมิ เขตพื้นที่ภาคตะวันออก 7 จังหวัด จำนวน 360 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นโดยสภาการพยาบาลร่วมกับภาคีเครือข่ายสถาบันการพยาบาล ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล ระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ ที่มีข้อมูลส่วนบุคคลต่างกันด้วยทดสอบค่าที (independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า ระดับสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาลในการบริการระดับ   ปฐมภูมิอยู่ในระดับพื้นฐาน ถึงระดับชำนาญ โดยมีค่าเฉลี่ยแต่ละด้านที่ 1.35 - 1.66 หรือคิดเป็นค่า    ร้อยละจากค่าคะแนนเฉลี่ยในแต่ละด้านได้ 45.0 - 55.3 ด้านที่มีการรับรู้สมรรถนะมากที่สุด ได้แก่ ด้านปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (ร้อยละ 55.3) และด้านที่มีการรับรู้สมรรถนะน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการวิจัยและการจัดการความรู้ (ร้อยละ 45.0) การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า มีค่าเฉลี่ยแต่ละด้านเท่ากับ 1.55 - 3.97  หรือคิดเป็นร้อยละ 49.6 - 64.0 ด้านที่มีการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพมากที่สุด ได้แก่ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (ร้อยละ 64.0)  และด้านที่มีการปฏิบัติบทบาทน้อยที่สุด ได้แก่ การปรับระบบบริการสุขภาพ (ร้อยละ 49.6) ความแตกต่างระหว่างการรับรู้สมรรถนะกับข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า อายุ ประสบการณ์ปฏิบัติงาน ระดับการศึกษา และตำแหน่งงานที่ต่างกัน มีสมรรถนะในการสร้างเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า ประสบการณ์ปฏิบัติงาน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงระดับสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและระดับการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลในการบริการระดับปฐมภูมิอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลควรมีการพัฒนาศักยภาพพยาบาลให้มีสมรรถนะและบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพที่สูงขึ้น เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


 

Abstract

The purpose of this survey research was to explore health promoting-competencies and performances among nurse in primary care unit. Three hundred and sixty nurses in primary care unit (PCU) in 7 provinces; the eastern region were recruited by multi-stage random sampling. Study instrument were self-administered questionnaires which developed by Thai Nursing Council and nursing institute net-work; consisted of personal data, health promoting-competencies and performances of nurses scale. The internal consistency reliability of questionnaires were .98 and .96, respectively. Data were analyzed using descriptive, Independent t-test and One-way ANOVA. 

The result revealed that; health promoting-competencies of PCU nurses were basic to expert with average score 1.35 - 1.66 or at 45.0 - 55.3 %.  The highest competencies score were health promoting activities (55.3%) and the lowest competencies score were research and knowledge management (45.0%). In addition, health promoting- performance average scores of PCU nurses were 1.55 - 3.97 or 49.6 -64.0 %. The highest performance score were creates supportive environments (64.0%) and the lowest competencies score were reorient health services (49.6%).  Nurses with different age, nursing experiences, education and job position had significant statistical difference with health promoting-competencies at level .05. In addition, nurses with different nursing experiences and job position had significant statistical difference with health promoting-performances at level .05

Results of the study showed the health promoting-competencies and performances of PCU nurses had middle level. Therefore, administrative nurses should developed nurses’ health promoting-competencies and performances to support health promotion for higher levels in order to improve nursing care sufficiently for people.

Downloads