ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดโดยใช้แนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรมในมารดาวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • สุนีย์ จุ่มกลาง
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
  • พรนภา หอมสินธุ์

คำสำคัญ:

ยาฝังคุมกำเนิด, การตัดสินใจ, มารดาวัยรุ่น, birth control implants, decision making, IMB Model, teen mothers

บทคัดย่อ

Correlated Factors with Decision Making of Birth Control

Implant Used based on the Information-Motivation Behavioral

Skills Model (IMB Model) Among Teen Mothers

 

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจการใช้ยาฝังคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ มารดาวัยรุ่นหลังคลอดที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี

ที่รับบริการตรวจหลังคลอดในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 171 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ทัศนคติต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด การสนับสนุนจากครอบครัวในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด การรับรู้

ความรุนแรงของการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.70, 0.77, 0.87, 0.70 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกทวิ (binary logistic regression)

ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

            ผลการศึกษาพบว่า มารดาวัยรุ่นมีการตัดสินใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดร้อยละ 56.7 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้ยาฝังคุมกำเนิดของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่

การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด (Adjusted Odds Ratio [AOR] = 28.87, 95%CI = 8.05-103.57) และการสนับสนุนจากครอบครัวในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด (AOR = 13.68, 95%CI = 4.04-46.3) ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาฝังคุมกำเนิด ทัศนคติต่อการใช้ยาฝังคุมกำเนิด และการรับรู้ความรุนแรงจากการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ผลการศึกษา

มีข้อเสนอแนะว่าในการส่งเสริมการใช้ยาฝังคุมกำเนิดในมารดาวัยรุ่นนั้นควรส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นมีทักษะในการตัดสินใจเลือกใช้ยาฝังคุมกำเนิด เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด รวมถึงเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของยาฝังคุมกำเนิดแก่ครอบครัวและสามีเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการสนับสนุนให้มารดาวัยรุ่นเลือกใช้ยาฝังคุมกำเนิดต่อไป

 

Abstract

            This descriptive correlational study aimed to identify factors associated with decision making of birth control implants among teenage mothers. One hundred and seventy one teenage mothers aged younger than 20 years old were recruited from Peuperium care unit in secondary and primary care hospital settings. Data were collected by questionnaires composed of personal information, knowledge of birth control implant used scale, attitude towards birth control implant used, family support of birth control implants used, perceived severity of repeat teenage pregnancy and self-efficacy towards birth control implant used. The reliability of questionnaires was 0.70, 0.77, 0.87, 0.70 and 0.90 respectively. Descriptive statistics and binary logistic regression at 95% confidential interval of odds ratio were used to analyze data.

            The findings demonstrated that 56.7 % of teenage mothers had decided

to use birth control by implant used. Factors related to decision making of birth control implant used were self-efficacy towards birth control implant used (Adjusted Odds Ratio [AOR]) = 28.87, 95%CI = 8.05-103.57) and family support of birth control implants used (AOR= 13.68, 95%CI = 4.04-46.3). Factors not significantly related to decision making of birth control implant used were the knowledge of birth control implant use, attitude towards birth control implant used and perceived severity of repeat teenage pregnancy.

            The result suggested that to promote using birth control implant among teen mothers should enhance teen mothers skilled in use of birth control implants to increase confidence in use birth control implant and emphasis on educate their families and husbands about benefits of birth control implant to provide incentives to encourage teen mothers choose for birth control implants use.

Downloads