ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง ยา 8 ขนานสังหาร NCDs ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พีรภัทร ไตรคุ้มดัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, โปรแกรมยา 8 ขนานสังหาร NCDs

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทางยา 8 ขนานสังหาร NCDs ของอาสาสมัครกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการระหว่าง 1 มิถุนายน  2563 ถึง  31 ธันวาคม 2563 โดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมยา 8 ขนานสังหาร NCDs ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ แบบทดสอบความรู้ และเครื่องมือทางคลินิก  โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าเฉลี่ย Paired-Samples t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ (Mean Diff = 11.34, 95% CI = 9.35-11.33, p – value < 0.001) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (Mean Diff = 9.76, 95% CI =4.21-15.31, p – value = 0.001) ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (Mean Diff = 0.26, 95% CI =0.11-0.41, p – value = 0.001) และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตช่วงบน (Systolic Blood Pressure) (Mean Diff = 8.78, 95% CI = 5.73-11.83, p – value < 0.001) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ควรมีการนำโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนี้ไปขยายผลต่อประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุข จังหวัด นครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิถุนายน 1]. เข้าถึงได้จาก https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (2563). ระบบบริหารจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มิถุนายน 1]เข้าถึงได้จาก https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.

นงลักษณ์ ตุ่นแก้ว. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.1ย. และการใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ต่อความรู้ พฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อหลวง ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2561;24(2):83–95.

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. หลักสูตรฝึกอบรมยา 8 ขนานสังหาร NCD. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2562.

พระภิกษุธัมมธโร (นายแพทย์ทองถม ชะลอกุล). การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ด้วยหลัก 4 อ.(ยา 8 ขนาน). พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา; 2562.

Bloom B.S. Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw-Hill Book Company; 1976.

ประหยัด ช่อไม้, อารยา ปรานประวิตร. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 2558;10(1):15–24.

ไพโรจน์ มะกล่ำดำ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วย โรคความดันโลหิตสูงของตำบลคลองอุดมชลจร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 2558;10(1): 20–39.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม, ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;4:253–64.

Polit, D. F. & Hungler, B. P. Nursing Research: Principles and Methods. (5th ed.). Philadelphia: J. B. Lippincott company; 1995.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-27

How to Cite

ไตรคุ้มดัน พ. (2023). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง ยา 8 ขนานสังหาร NCDs ของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 29(1), 5–14. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/256664