การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละกอ ตำบลศรีละกอ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • คมศร เที่ยงกระโทก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พัชรี ศรีกุตา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ การพัฒนาศักยภาพ โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุม
ระดับนํ้าตาลในเลือดไม่ได้โดยการนำกรอบแนวคิด Action research ของ Susman และ Evered ประกอบด้วย
5 ขั้นตอน คือ 1) การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพ 2) การวางแผนปฏิบัติงาน 3) การลงมือปฏิบัติกิจกรรม
4) การประเมินผลกิจกรรม 5) การปรับปรุงผลการเรียนรู้ และทฤษฎีความสามารถของตนเองของ Bandura
ประกอบด้วย การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้
กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดไม่ได้ ที่มารับบริการ
คลินิกโรคเบาหวาน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบเก็บข้อมูลบริบท
ชุมชน แบบสอบถาม แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการประชุม แบบสังเกตการมีส่วนร่วม และแบบบันทึก
กิจกรรมของผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน
ค่าสูงสุด ค่าตํ่าสุด ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon Signed-rank testผลการวิจัย พบว่า
หลังการพัฒนาศักยภาพส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดไม่ได้
มีศักยภาพด้านความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงจากร้อยละ 45 เป็น ร้อยละ 80 และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ(p=.001) ด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงจากร้อยละ 30 เป็น
ร้อยละ 75 และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.001) ด้านความคาดหวังต่อผลลัพธ์
เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงจากร้อยละ 30 เป็น ร้อยละ 75 และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p=.001) ด้านทัศนคติเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงจากร้อยละ 50 เป็น ร้อยละ 80 และสูงกว่าก่อนการพัฒนา
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.008) ด้านพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมากจากร้อยละ 15เป็น ร้อยละ 40
และสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=.008) และมีระดับนํ้าตาลในเลือด (HbA1c) ลดลง
ร้อยละ 100 ลดลงมาอยู่ในระดับตํ่ากว่าเกณฑ์ปกติ (ตํ่ากว่า 7.00 mg%) ร้อยละ 30 และลดลงกว่า
ก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.001)

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลเบื้องต้นการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย [ออนไลน์]. 2557
[เข้าถึงเมื่อ 2559/03/13] เข้าถึงได้จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/14494/
18145.pdf.
2. ทิพารัตน์ คงนาวัง. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของ
ครอบครัว และชุมชน [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.
3. สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2559. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
[ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2559/01/19] เข้าถึงได้จากhttp://thaincd.com/document/ le/
download/paper-manual/รายงานประจำปี 59_สำนักโรคไม่ติดต่อ.pdf.
4. กระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงาน Health Data Center (HDC v4.0)[ออนไลน์].2558 [เข้าถึงเมื่อ
2560/01/19] เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php.
5. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละกอ. รายงานประจำปี. นครราชสีมา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลละกอ; 2559.
6. สุนทร โสภณอัมพรเสนีย์. การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโดยกระบวนการ
สร้างเสริมพลังอำนาจ บ้านหนองพลวง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์].
นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ; 2551.
7. Susman, G.I and Evered, R.D. Action research [ออนไลน์]. 1978. [เข้าถึงเมื่อ 2559/03/19] เข้าถึง
ได้จาก https://www.researchgate.net/ gure/Action-research-model-Susman-and-Evered-
1978_ g1_250866189.
8. Mashburn, D. Self ef cacy, self reliance, adherence to self care, and glycemic control among
Cherokee with type 2 diabetes.University of Minnesota, 2012.
9. เกศินี สิงห์คำ. การพัฒนาการควบคุมอาหารของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานและไม่สามารถควบคุมระดับ
นํ้าตาลในเลือดได้ในชุมชน. [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:
มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
10. เบญจพร แก้วคำใต้. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายด้วย
การเดินที่มีต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีและสุขสมรรถนะในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน[วิทยานิพนธ์].
มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.

เผยแพร่แล้ว

2019-01-31

How to Cite

เที่ยงกระโทก ค., & ศรีกุตา พ. (2019). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลละกอ ตำบลศรีละกอ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 25(1), 37–47. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/187105