การพัฒนาครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านความพอประมาณ ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ครัวเรือนต้นแบบ, การจัดการขยะ, พอประมาณ, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะที่สอดคล้องกับปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง
มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพัฒนาครัวเรือนต้นแบบ ประกอบด้วยแกนนำชุมชน 15 คน และ กลุ่มศึกษาผลการปฏิบัติ
ของครัวเรือนต้นแบบ ได้แก่ แกนนำครัวเรือน 120 คน จาก 16 หมู่บ้าน ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 พัฒนาครัวเรือนต้นแบบ และระยะที่ 3 ศึกษาผลการปฏิบัติของ
ครัวเรือนต้นแบบ ทำการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2559 – พฤศจิกายน 2560 เครื่องมือที่ใช้ คือ
แบบทดสอบ แบบสอบถาม และแบบประเมิน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย
พบว่าแกนนำมีความรู้ ร้อยละ 46.0 มีการคัดแยกขยะถูกหลักสุขาภิบาล ร้อยละ 7.0 มีปริมาณขยะ 25.5 กิโลกรัม/
ครัวเรือน/เดือน และยังขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ ดำเนินการพัฒนาครัวเรือนต้นแบบ
5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 คัดเลือกหมู่บ้านนำร่อง 1 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านพุดซาตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช
จังหวัดนครราชสีมา ขั้นที่ 2 พัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือนให้มีความรู้ รับรู้ความสามารถของตนเอง มีความ
คาดหวังในผลลัพธ์ และมีพฤติกรรมการจัดการขยะที่เหมาะสม ซึ่งภายหลังการพัฒนากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย
สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขั้นที่ 3 เรียนรู้ครัวเรือนต้นแบบทำให้แกนนำครัวเรือนได้แนวทาง
สำหรับการพัฒนา ขั้นที่ 4 การประกวดครัวเรือนต้นแบบโดยใช้เกณฑ์การประกวด คือ 1) มีการคัดแยกขยะ
2) มีการล้อมรั้วต้นไม้เพื่อทำปุ๋ย 3) มีการจัดการขยะอินทรีย์อย่างเหมาะสม 4) มีบริเวณบ้านที่สะอาด และ
ขั้นที่ 5 ขยายครัวเรือนต้นแบบโดยชุมชน คือ ขยายครัวเรือนต้นแบบเพิ่มอีก 15 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 5 ครัวเรือน
จึงทำให้มีครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 120 ครัวเรือน
จากผลการปฏิบัติของครัวเรือนต้นแบบ พบว่า มีปริมาณขยะต่อครัวเรือนลดลงเหลือเพียง 5 กิโลกรัม/
ครัวเรือน/เดือน
References
นครราชสีมา,2560.
2. กรมควบคุมมลพิษ.คู่มือประชาชน เพื่อการลด คัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยชุมชน.กรุงเทพฯ:
บริษัท ฮีซ์ จำกัด, 2556.
3. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา.แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
จังหวัดนครราชสีมา ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2558-2562).นครราชสีมา, 2557.
4. สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา.แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
จังหวัดนครราชสีมา ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2558-2562).นครราชสีมา, 2559.
5. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.รายงานการจัดการขยะในครัวเรือน ตำบล
หนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา, 2559.
6. Mongsawad, P. The philosophy of the sufficiency economy: a contribution to the theory of
development. Asia-Pacific Development Journal. 2010; 17: 123-144.
7. Kemmis, S;&Mc Taggart,R.The Action research planner.3rd ed. Deakin University press: V
ictoria;1990.
8. คุณาพงศ์ คตวงค์. การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยของท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาล
ตำบลโนนสุวรรณ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2558;18(2) :
229-237.
9. จรรยา ปานพรม. การมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยของครัวเรือน : เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอ
บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.พระนครศรีอยุธยา: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2554.
10. อลินิน พูนผล และคณะ.การสร้างบุคคลต้นแบบในการจัดมูลฝอยโดยอาศัยแรงจูงใจให้แกนนำชุมชน
มีส่วนร่วม ชุมชนสามัคคีธรรม เทศบาลตำบลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารเกื้อการุณย์.
2557 ;1(1) : 1-10.
11. พีรนาฏ คิดดี และคณะ. การศึกษาทัศนคติของคนกับการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม
จังหวัดพัทลุง. ในการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ : ครั้งที่ 16 ประจำปี
2549. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ,2550.
12. Bandura, A.Self-Efficacy :The exercise of control. New York:W.H.Freeman;1997.
13. ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, ธีระวุธ ธรรมกุล และทิพย์รัตน์ ธรรมกุล. การพัฒนาเครือข่ายด้านสุขภาพ
ของประชาชนในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.วารสารวิชาการ สคร. 5. 2558;22(1)
:25-39.
14. ศิริพร พึ่งเพ็ชร์. การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับลีลาการเรียนรู้ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษา.(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต).นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล ; 2553.
15. McGill and Beaty.Action learning :A guide professional,management &Educational development.
Revise Second Edition.London : Kongan Page, 2002.
16. Mcgill and Brockbank. The action learning handbook .London : Routledge Falmer, 2004.
17. อิสรภาพ มาเรือน, จันทร์เพ็ญ ชุมแส และศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา.รูปแบบการจัดการขยะที่สอดคล้องกับ
ภูมิสังคมของชุมชนชาวเขาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน.วารสารวิจัย
สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2556; 6(2):136-144.
18. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.แนวคิดและความเป็นมาของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี
ส่วนร่วม. 2554. (อินเตอร์เนต). (เข้าถึงเมื่อ15 กุมพาพันธ์ 2559.) เข้าถึงได้จากhttp//ae.edu.
swu.ac.th/rebsnong/web01/web451/thai%20lifelong.htm.
19. ปภาวิน เหิดขุนทด. พฤติกรรมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). นครราชสีมา:
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2554.
20. ธงชัย ทองทวี. สภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม อำเภอจักราช
จังหวัดนครราชสีมา : สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
สุรนารี, 2553.
21. พิเชษฐ์ คงนอก. การศึกษาการจัดการขยะชุมชน เทศบาลตำบลดอนหวาย อำเภอโนนสูง จังหวัด
นครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต).นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ถือว่าเป็น
ลิขสิทธิ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา