ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 35 - 60 ปี โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปรัชญาพร รุจาคม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแปรง
  • จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, แรงสนับสนุน ทางสังคม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจ
คัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยงตำบลบ้านแปรงอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมาโดยประยุกต์
ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ในการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง
ปากมดลูก โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 39 คน
คัดเลือกโดยความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม
สุขศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 17 ครั้ง ประกอบด้วย การบรรยาย การฉายวีดีทัศน์ ตัวอย่างมดลูกที่เป็นมะเร็ง ตัวแบบ
แผ่นพับ และการเยี่ยมบ้านให้คำปรึกษา ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมตามปกติของโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลหนองไทร การศึกษานี้ใช้เวลาดำเนินการวิจัยทั้งสิ้น 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้
แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.77 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนภายในกลุ่มด้วยสถิติ Paired
t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent Samples t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงการรับรู้ประโยชน์
ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการรับรู้อุปสรรคของการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้
โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p <0.001) มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้อุปสรรคของการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง
ปากมดลูกสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p <0.05) 3)กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการเข้ารับ
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) จากผล
การศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยประยุกต์ทฤษฎีแบบแผน
ความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม ทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการเข้ารับบริการ
ตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงอาจนำโปรแกรมสุขศึกษานี้ไปประยุกต์ใช้ เพื่อ
เพิ่มอัตราการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่อื่นต่อไป

References

1. จตุพล ศรีสมบูรณ์ และชำนาญ เกียรติพีรกุล. มะเร็งนรีเวชวิทยา (Gynecologic Oncology). กรุงเทพฯ:
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, 2554.
2. ธิดา นุ่มอยู่. การส่งเสริมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
ของสตรี โดยประยุกตใ์ ชท้ ฤษฎีแบบแผนความเชื่อดา้ นสุขภาพ ในเขตอำเภอทา่ เรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ; 2551.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานประจำปี 2551. นครราชสีมา: โคราชพริ้นติ้ง, 2551.
4. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 2, ขอนแก่น: โรงพิมพ์
คลังนานาวิทยา, 2548.
5. กรรณิการ์ เกตุทิพย์. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริม
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อสตรี อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี. [วิทยานิพนธ์ ปริญญา
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพขอนแก่น : มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น ; 2549.
6. รจเรข ธรรมกร่าง และคณะ. การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม
เพื่อส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30 - 60 ปี ที่ไม่เคยตรวจคัดกรอง.
Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University 2557;1(5) : 19.
7. สุรียา สะมะแอ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ และเบญฑิรา รัชตพันธนากร. ผลของโปรแกรมการสอนแบบสร้าง
แรงจูงใจต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก กรณีศึกษา : ตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปา จังหวัด
นราธิวาส. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559; 3(1) : 35.
8. จันทนี แต้ไพสิฐพงษ์ และณัฐวุฒิ กันตถาวร. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อระดับความรู้และทัศนคติ
ในสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกปกติ. วารสารสภาการพยาบาล 2556 ; 28(2) : 75.
9. มณฑา เก่งการพานิช, สุพัตร์ตา งามดำ และธราดล เก่งการพานิช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการตรวจคัดกรอง
มะเร็งปากมดลูกของสตรีในจังหวัดราชบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2556 ; 43(2) : 182.
10. ศิริลักษณ์ วรไวย์ และคณะ. ผลการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม
ในการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30 - 60 ปี ตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย
จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557; 23(5) : 837.
11. ขนิษฐา มูลนิบาล และพิมภา สุตรา. โปรแกรมการเตรียมครอบครัวเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกัน
มะเร็งปากมดลูก อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ. 2555; 30(2) : 147.

เผยแพร่แล้ว

2017-09-30

How to Cite

รุจาคม ป., & ไตรทิพย์สมบัติ จ. (2017). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 35 - 60 ปี โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 23(2), 35–45. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/188939