การพัฒนาและตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ ของผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอสุวรรณภูมิจังหวัดร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
การวัดความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านสุขภาพ เป็นการสะท้อนการบริการสู่การพัฒนาบริการ
ด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม จากการศึกษายังไม่พบเครื่องมือที่เหมาะสมกับการวัดความพึงพอใจในผู้ป่วย
ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาการวิจัย
ครั้งนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินคุณสมบัติด้านความตรงและความเที่ยงของแบบสอบถาม
วัดความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอ
สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเริ่มจากการนิยามตัวแปรและการรวบรวมข้อคำถามจากการทบทวนวรรณกรรม
การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและการสนทนากลุ่มในผู้ป่วย จากนั้นนำแบบสอบถามฉบับร่างไปให้ผู้เชี่ยวชาญ
ประเมินความตรงตามเนื้อหา และนำไปทดสอบความเข้าใจด้านภาษากับผู้ป่วย นำมาแก้ไข นำไปเก็บข้อมูล
จากตัวอย่าง 466 คน เพื่อประเมินความตรงเชิงโครงสร้างเบื้องต้น และหาค่าความเที่ยง ผลการศึกษาพบว่า
แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบล อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีคำถามทั้งหมด 35 ข้อ ดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI)
ของคำถามเฉลี่ยเท่ากับ 0.89 แบบสอบถามมีโครงสร้างความพึงพอใจ 5 มิติ ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านสถานที่
ด้านการอำนวยความสะดวก ด้านคุณภาพบริการและด้านสนับสนุนการบริการมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ
0.94, 0.88 , 0.83, 0.84 และ 0.71 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟารวม เท่ากับ 0.84 ดังนั้น แบบสอบถามนี้
จึงเป็นเครื่องมือที่มีความตรงและความเที่ยงในระดับที่ยอมรับได้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถนำแบบสอบถามนี้
ไปใช้ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคุณภาพในโรงพยาบาลส่งเสริม
สุขภาพตำบลได้
References
in Geneva Switzerland, 9-11 November 2005. Geneva: World Health Organization; 2006.
Available from:http://whqlibdoc.who.int/publications/2006/924154712X_eng.pdf.
2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2553.
กรุงเทพฯ: องค์การส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2555.
3. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์
โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2556.
4. วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : นโยบาย
สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2556.
5. สำนักบริการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.การพัฒนาเกณฑ์การจัดการกำลังของสหวิชาชีพ
พ.ศ. 2555. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข, 2555.
6. สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ และบำรุง ชลอเดช. สถานการณ์ระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย
ปี 2553. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจากัดสหพัฒนไพศาล, 2554.
7. อดุลย์ จาตุรงคกุล, ดลยา จาตุรงคกุล. พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2549.
8. Risser NL. Development of an instrument to measure patient satisfaction with nurses and nursing care are
in primary care setting, Nurs Res1975; 24(1):45-51.
9. สุพัตรา วิจิตรโสภา. ความพึงพอใจและความต้องการการบริการรักษาพยาบาลของนักศึกษามหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สงขลา. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์ 2548; 11:41-54.
10. Lynn MR. Determination and quanti cation of content validity, Nurs Res 1986; 35(6):382-386.
11. De Vet HCW, Terwee CB, Mokkink LB.et al. Measurement in medicine: Apractical guide. Cambridge:
Cambridge University Press, 2011.
12. Kaiser HF. An index of factorial simplicity, Psychometrika 1974; 39: 31-36.
13. Everitt BS. Statistical method for medical investigations. 2nded. London: Edward Arnold, 1994.
14. Streiner DL, Norman GR. Health measurement scales: A practical guide to their development
and use. 4 ed. Oxford: Oxford University Press, 2008.
15. Aday LA, Andersen R. A framework for the study of access to medical care, Health Serv Res 1974;
9(3): 208–220.
16. SpectorPE. Summated rating scale construction: An introduction. Newbury Park: Sage Publication,
1992.
17. Devellis RF. Scale development: Theory and application. ed. Thousand Oaks: Sage Publications,
2003.
18. Paddock LE. Veloski J, Chatterton ML. et al. Development and validation of a questionnaire to
evaluate patient satisfaction with diabetes disease management. Diabetes Care 2000; 23:951–956.
19. Grogan S, Conner M, Willists D. et al. Development of a questionnaire to measure patients’
satisfaction with general practitioners’ services. The British Journal of General Practice 1995,
October: 525-529.
20. คฑาชัย เหล่าศรีมงคล, ทรงพล บุญธรรมจินดา และศิระ เฉลียวจิตติกุล. การสร้างและทดสอบความตรง
ของเครื่องมือเพื่อใช้วัดความพึงพอใจของผู้มารับบริการในร้านยา. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร
บัณฑิต]. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545

เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ถือว่าเป็น
ลิขสิทธิ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา