ปัจจัยความสำเร็จในการควบคุมการระบาดโรคหัดของอำเภอเมือง จังหวัดสตูล
คำสำคัญ:
ปัจจัยความสำเร็จ, การระบาดของโรคหัด, ซิปโมเดล, การวิจัยประเมินผลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงประเมินผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ การดำเนินงานควบคุมการระบาดของโรคหัด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล และศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานควบคุมการระบาดของโรคหัด ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสาธารณสุข บุคลากรกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคหัด จำนวน 36 คน เครื่องมือในการศึกษา ประกอบด้วย แบบตรวจรายการ แบบประเมิน และแบบสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคในแบบประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์เท่ากับ 0.74, 0.92, 0.93 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์การดำเนินงานควบคุมโรคหัดในพื้นที่ ภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคหัด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้แก่ มีการจัดตั้งทีมปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการเกิดโรคในพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดแผนงานและแนวทางการดำเนินงานโดยผ่านการเห็นชอบจากผู้บริหาร การให้ความสำคัญกับการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยเน้นย้ำให้พื้นที่มีความครอบคลุมของวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย มีการเฝ้าระวังมีการตรวจจับผู้ป่วยที่รวดเร็ว และเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างครบถ้วน ระบบการรายงานผู้ป่วยมีความรวดเร็วทันเวลา มีจำนวนบุคลากรเพียงพอและพร้อมสำหรับปฏิบัติงานด้านการสอบสวนและควบคุมโรค มีทรัพยากรด้านวัคซีน วัสดุอุปกรณ์ และระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความพร้อมและเพียงพอในการปฏิบัติงาน และมีระบบการสื่อสารและประสานงานกับเครือข่ายและประชาชนในการลงพื้นที่ที่ดี
คำสำคัญ: ปัจจัยความสำเร็จ, การระบาดของโรคหัด, ซิปโมเดล, การวิจัยประเมินผล
References
2.ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ, และเลิศฤทธิ์ ลีลาธร. (2559). แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรค การตรวจรักษา และส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญา นานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
3. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2561). รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506. สืบค้นจาก http://www.boe.moph.go.th. (วันที่สืบค้น 22 เมษายน 2562)
4. กลุ่มระบาดและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (2562). สถานการณ์โรคหัด.
5. งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล. (2562). รายงานโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา.
6. งานระบาดวิทยาและควบคุมโรค โรงพยาบาลสตูล. (2562). สถานการณ์ผู้ป่วยโรคหัด.
7. ปนัดดา ไชยชมพู, และธันวดี รู้รอบ. (2558). โครงการพัฒนาต้นแบบอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนในพื้นที่สาธารณสุขเขต 14 ปี 2555. วารสารสคร.5 ปี 2555, 19(1), 5-17.
8. อุดม อัศวุตมางกุร, อารยา ประเสริฐชัย, และช่อทิพย์ บรมธนะรัตน์. (2560). การประเมินผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปทุมธานี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(2),124-134.
9. ธีระวุธ ธรรมกุล, ไพโรจน์ พรหมพันใจ, บัณฑิต วรรณประพันธ์, และทิยรัตน์ สิงห์ทอง. (2555). การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพและกลไกการพยากรณ์โรคในพื้นที่สาธารณสุขเขต 14 ตามนโยบายหลัก กรมควบคุมโรค พ.ศ.2554. วารสารสคร.5 ปี 2555, 18(1), 45-57.
10. วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์, สุพาภรณ์ สุยะสืบ, และอนุพงษ์ อนุเมธางกูร. (2550). การระบาดของโรคหัดในอำเภออุ้งผาง จังหวัดตาก 2547 - 2548. สืบค้นจาก http://www.kb.hsri.or.th. (วันที่สืบค้น 15 เมษายน 2562)

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ถือว่าเป็น
ลิขสิทธิ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา