การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ แก้วน้ำใส โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย, โรคไข้เลือดออก, การป้องกันและควบคุม

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อหน่วยในการให้บริการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลโชคชัย โดยใช้ข้อมูลจากข้อมูลต้นทุนบริการป้องกันและควบคุมโรค ปีงบประมาณ 2561-2563 วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบฟอร์มเก็บข้อมูลจากข้อมูลสอบสวนโรคไข้เลือดออก โดยกำหนดรายละเอียดกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก นำผลที่ได้จัดเรียงประเภทข้อมูลเป็น ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ ต้นทุนงบลงทุน ต้นทุนทางตรง ต้นทุนทางอ้อม ต้นทุนรวม ต้นทุนต่อครั้ง และต้นทุนต่อประชากร ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การลงบันทึกใน Microsoft excel 2016 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 พฤษภาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ผลการศึกษา: ต้นทุนเฉลี่ย 3 ปี (2561-2563) ต้นทุนที่มีมูลค่าสูงที่สุด ได้แก่ ต้นทุนค่าแรง เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 74.4 ของต้นทุนทางตรง ต้นทุนค่าวัสดุ ร้อยละ 17.7 ของต้นทุนทางตรง ต้นทุนงบลงทุน สัดส่วนเฉลี่ยที่ร้อยละ 8.2 ของต้นทุนทางตรง ต้นทุนทางตรง มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 75.5 ของต้นทุนรวม ต้นทุนทางอ้อม มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 24.5 ของต้นทุนรวม ต้นทุนต่อครั้ง มีค่าเท่ากับ 678.70 บาท ต้นทุนต่อประชากร มีค่าเท่ากับ 4.77 บาท ข้อสรุป: ถ้าป้องกันได้ดี จะใช้งบประมาณน้อยกว่าการควบคุมเมื่อเกิดการระบาด ต้นทุนที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ ต้นทุนค่าแรงของเจ้าหน้าที่ ต้นทุนค่าวัสดุแปรผันตามการใช้ทรัพยากรในปีนั้น ๆ ต้นทุนงบลงทุนได้รับการคำนวณจากอาคารผู้ป่วยนอกหลังใหม่ ทำให้สัดส่วนสูงขึ้น ต้นทุนทางอ้อมยังอยู่ในระดับการกระจายของศูนย์ที่เหมาะสม ต้นทุนต่อประชากรใกล้เคียงกับการศึกษาอื่น ๆ

References

จรณิต แก้วกังวาล, จิระพัฒน์ เกตุแก้ว, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, บรรณาธิการ. บทที่ 1 ระบาดวิทยา. ใน สุภาวดี พวงสมบัติ, ธีราวดี กอพยัคฆินทร์, วราภรณ์ เอมะรุจิ, ศรัณรัชต์ ชาญประโคน,.คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.หน้า 1-10.

กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง. สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 ปี 2562 (วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2562) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พฤษภาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/62-situation-ALL.pdf.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข HDC V4.0 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พฤษภาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=cb4e5a2990d327d0789a7301e4259b95.

สำนักงานควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. การจัดการยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออกตามหลักการจัดการแมลงพาหะนำโรคแบบผสมผสาน, พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา: สำนักงานควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา; 2557.

Baly A, Toledo ME, Rodriguez K, Benitez JR, Rodriguez M, Boelaert M, et al. Costs of dengue prevention and incremental cost of dengue outbreak control in Guantanamo, Cuba. Trop Med Int Health. 2012;17(1):123-32.

ขวัญประชา เชียงชัยสกุล, อุทุมพร วงษ์ศิลป์, ดิชพงศ์ พงศ์ภัทรชัย. การศึกษาต้นทุนผู้ป่วยในรายบุคคลเพื่อปรับปรุง กลไกการจ่ายเงินโดยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมภายใต้โครงการ ปรับปรุงกลไกการจ่ายเงินโดยกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยหลักประกันสุขภาพไทย; 2556.

วนิดา ริ้วสุวรรณ . การศึกษาต้นทุนหน่วยบริการ Unit Cost แบบ Modified Full Cost ของโรงพยาบาลเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2556 เปรียบเทียบปีงบประมาณ 2557. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558;32(2):157-72.

วชิระ บถพิบูลย์, พิศิษฐ์ สมผดุง, กิตติรัตน์ ระวิวรรณ์, สุธาดา ศิริกิจจารักษ์, วุฒิภาพ วรชัยเศรษฐ์,ประภัสสร คณะรัฐ และคณะ. รายงานการศึกษาต้นทุนบริการ (Unit Cost) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 ปีงบประมาณ 2559. อันลิมิต พริ้นติ้ง: กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2560. หน้า 140.

Packierisamy PR, Ng CW, Dahlui M, Inbaraj J, Balan VK, Halasa YA, et al. Cost of Dengue Vector Control Activities in Malaysia. Am J Trop Med Hyg. 2015;93(5):1020-7.

Kongsin S, Jiamton S, Suaya JA, Vasanawathana S, Sirisuvan P, Shepard DS. Cost of dengue in Thailand. Dengue bulletin. 2010;34:77-88.

ทีมข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูลและดาต้าอนาไลติกส์. เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคของไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 พฤษภาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=th.

Massad E, Coutinho FAB. The cost of dengue control. The Lancet. 2011;377(9778):1630-1.

ทรงวุฒิ หุตามัย, รัชนีกร คำหล้า, ประภัสสร สุวรรณบงกช, เจริญศรี แซ่ตั้ง, สุเมธ องค์วรรณดี, สมศักดิ์ ธรรมธิติวัฒน์. การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่เขต 10 ปีงบประมาณ 2547. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2550;3(2):135-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26

How to Cite

แก้วน้ำใส ก. . (2023). การวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการให้บริการการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 29(2), 54–66. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/259211