ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2564
คำสำคัญ:
ความชุก, วัณโรคระยะแฝง, บุคลากรสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2564 กลุ่มตัวอย่างเป็นข้อมูลบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2564 (เดือน ตุลาคม 2563 ถึงกันยายน 2564) ที่เข้ารับการคัดกรองวัณโรคระยะแฝงด้วยวิธี Interferon-gamma release assays (IGRAs) จำนวน 799 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกข้อมูลผู้รับบริการที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นภายใต้การดำเนินงานนิเทศ กำกับ และติดตามงานของโครงการเร่งรัดค้นหา ควบคุมวัณโรคและวัณโรคดื้อยา เขตสุขภาพที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น จำนวน ร้อยละ และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มผลเป็นบวกกับกลุ่มที่ผลเป็นลบด้วยสถิติ Chi-square ผลการศึกษา พบว่า จากบุคลากรสาธารณสุขที่เข้ารับการคัดกรองวัณโรคระยะแฝง 799 ราย พบมีผลบวก 191 ราย (ความชุกร้อยละ 23.9) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 24.2 มีอายุอยู่ระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 27.8 ตำแหน่งงานเป็นพยาบาล ร้อยละ 26.7 ส่วนใหญ่มีอายุงาน 20 ปีขึ้นไป ร้อยละ 30.9 นอกจากนี้บุคลากรสาธารณสุขทำงานอยู่ในโรงพยาบาลประเภทโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป ถึงร้อยละ 27.0 และส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในแผนกงานห้องฉุกเฉิน ร้อยละ 27.4 นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มผลเป็นบวกกับกลุ่มที่ผลเป็นลบเพื่อหาปัจจัยสัมพันธ์ พบว่า อายุงาน และประเภทของโรงพยาบาล เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ข้อเสนอแนะ ในการดำเนินการป้องกันควบคุมวัณโรค จึงควรให้ความสำคัญในการฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันการติดเชื้ออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมถึงมีการสื่อสารแนวทางการป้องกันการติดเชื้อที่ถูกต้องและการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสมเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
References
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. การบริหารจัดการค้นหาและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสำหรับผู้สัมผัสวัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. คำแนะนำเรื่องการวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.
กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. รายงานการคัดกรอง LTBI [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2565 สิงหาคม 18]. เข้าถึงได้จาก https://tbcmthailand.net.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี. สรุปผลการนิเทศ เพื่อกำกับติดตามงานวัณโรค เขตสุขภาพที่ 4 ปีงบประมาณ 2564. สระบุรี: สำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี; 2564.
ชํานาญ ยุงไธสง, ผลิน กมลวัทน์, สายใจ สมิทธิการ, อรนันต์ ลิลากุด. การศึกษาอัตราการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง และการป่วยเป็นวัณโรคในบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2565;6(2):203-16.
บุญเชิด กลัดพ่วง, ชํานาญ ยุงไธสง, ผลิน กมลวัทน์. อัตราความชุกการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในโรงพยาบาลขนาดใหญ่จากการตรวจด้วยวิธี Interferon-Gamma Release Assay (IGRA). วารสารโรคเอดส์. 2564;33(1):21-35.
Almohaya A, Aldrees A, Akkielah L, Hashim AT, Almajid F, Binmoammar T, et al. Latent tuberculosis infection among health-care workers using Quantiferon-TB GoldPlus in a country with a low burden for tuberculosis: prevalence and risk factors. Ann Saudi Med. 2020;40(3):191-199.
Erawati M, Andriany M. The prevalence and demographic risk factors for latent tuberculosis infection (LTBI) among healthcare workers in Semarang, Indonesia. Journal of Multidisciplinary Healthcare. 2020:13;197–206.
Nonghanphithak D, Reechaipichitkul W, Chaiyasung T, Faksri K. Risk factors for latent for tuberculosis infection among health-care workers in northeastern Thailand. Southeast Asian J trop Med public health. 2016:47(6);1198-208.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ถือว่าเป็น
ลิขสิทธิ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา