ผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วัชรากรณ์ เพ็งขุนทด นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

โปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจ, การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวตำบลมะเกลือเก่า คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยประยุกต์ใช้สูตรการคํานวณขนาดกลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกรณีประชากร 2 กลุ่มเป็นอิสระต่อกันจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test for dependent samples และ t-test for independent samples ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Mean diff = 4.18, 95% CI = 3.54, 4.80, p-value < 0.001) การรับรู้ความรุนแรงของอันตรายที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Mean diff = 3.37, 95% CI = 1.45, 5.28,   p-value < 0.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Mean diff = 4.63, 95% CI = 2.90, 6.35, p-value < 0.001) การรับรู้ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Mean diff = 6.11, 95% CI = 3.40, 6.80, p-value < 0.001) การรับรู้ความคาดหวังถึงผลดีจากการการมีพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสม (Mean diff = 8.11, 95% CI = 6.41, 9.80, p-value < 0.001) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Mean diff = 4.57, 95% CI = 2.96, 6.20, p-value < 0.001) และระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอรเรสในเลือด(Mean diff = 2.03, 95% CI = -2.37, -1.74, p-value < 0.001) ลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปขยายผลต่อกลุ่มประชากรกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

References

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมวิชาการเกษตร. ปริมาณและมูลค่านำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร เอกสารข้อมูลการนำเข้าสารเคมี [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 11]. เข้าถึงได้จาก: http://www.onep.go.th/env_data.

สุรศักดิ์ ธรรมรักษ์เจริญ และคณะ. พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลยอดแกง อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2566;29(1):95-106.

ศิริกานต์ นากระโทก. การศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติด้านความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประชาชน เขตเทศบาลตำบลบ้านเหลื่อม อำเภอบ้านเหลื่อม จังหวัดนครราชสีมา.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2561;1(2):1-10.

นัสพงษ์ กลิ่นจําปา, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. พฤติกรรมการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตําบลป่าไม้งาม อําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2562;25(2):26-34.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. คู่มือเกษตรกรปลอดโรคสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 20]. เข้าถึงได้จาก: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/chemicals-and-protection.pdf

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานรวบรวมข้อมูลการดำเนินการงานชีวอนามัย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2563 มีนาคม 21]. เข้าถึงได้จาก: http://www.korathealth.com/korathealth/index.php.

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย, พีรญา อึ้งอุดรภักดี. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตัวเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ผู้ปลูกหอมหัวแดง ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2559;4(3):416-428.

สํานักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลทะเบียนเกษตรกร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 15]. เข้าถึงได้จาก: http://www.khorat.doae.go.th/web/index.php/2014-11-27-04-36-03.16.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. เอกสารรายงานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานปี2563 (จปฐ.) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 20]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะเกลือเก่า. สรุปรายงานโครงการคัดกรองสารเคมีในเลือดต่อสํานักงานสาธารณสุขอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2563: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะเกลือเก่า; 2563.

จุฬาภรณ์ โสตะ. แนวคิดทฤษฏีและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2554.

ณัฐวุฒิ กกกระโทก, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. ผลของโปรแกรมสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อแรงจูงใจเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารชุมชนวิจัย. 2562;9(1):239-250.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสําหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น:ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.

Bloom B.S. Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company;1971.

ธณากรณ์ คาคง, ธัญภรณ์ เกิดน้อย. ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในเกษตรกร อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสารสาธารณสุขล้านนา. 2562;15(2):1-11.

ปณวัตร สันประโคน. ผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจาการใช้ยาฆ่าแมลงของชาวนาไทยในอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพปี. 2560;35(4):89-96.

พัณณิตา ลุงคะ, พันธ์ทิพย์ หินหุ้มเพ็ชร. ประสิทธิผลของโปรแกรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อลดการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารควบคุมโรค. 2563;46(3):247-256.

สุดา หันกราง. ประสิทธิผลของโปรแกรมลดการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรชาวนาในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(2):183-197.

ธนาศักดิ์ เปี่ยมสิน, จุฑารัตน์ รักประสิทธิ์. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลัง ตําบลไพรนกยูง อําเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารควบคุมโรค. 2565;48(1):110-119.

นิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ, กิ่งแก้ว สำรวยรื่น, สืบตระกูล ตันตลานุกุล. การมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันตนเองจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตําบลไทรย้อย อําเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2560;9(2):18-20.

ธวัชชัย เอกสันติ, นิภา มหารัชพงศ์, ยุวดีรอดจากภัย, อนามัย เทศกะทึก. การพัฒนาโปรแกรมและผลของโปรแกรมสุขศึกษาและการส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแปลงนาข้าว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2565;8(2):29-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26

How to Cite

เพ็งขุนทด ว. ., & สัตยวงศ์ทิพย์ พ. . (2023). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตำบลมะเกลือเก่า อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 29(2), 92–107. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ODPC9/article/view/259415