การประเมินการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2563–2564
คำสำคัญ:
การประเมิน, ผลการดำเนินงาน, แผนยุทธศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา (สคร.9 นครราชสีมา) ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ.2563–2564 ประยุกต์ใช้แนวคิด The Deming Cycle (PDCA) และศึกษาความต้องการการสนับสนุนการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 9 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 - มกราคม พ.ศ.2566 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากร สคร.9 นครราชสีมา จำนวน 32 คน และบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลของรัฐในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 221 คน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกข้อมูลการทบทวนเอกสารและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สคร.9 นครราชสีมา ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ แต่ยังไม่มีการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สคร.9 นครราชสีมา สู่การปฏิบัติโดยจัดทำโครงการรองรับ ซึ่งมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มากที่สุด คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก ( = 3.89, S.D.= 0.86) และความคิดเห็นต่อโอกาสบรรลุเป้าหมาย อยู่ในระดับมาก (
= 3.92, S.D.= 0.82) ด้านติดตามประเมินผลและการทบทวนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ยังไม่ชัดเจน 2) มีความต้องการต่อการสนับสนุนการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ขั้นตอนปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะ ควรกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและวัดผลได้ เพื่อให้สามารถประเมินผลสำเร็จของแผนยุทธศาสตร์ และกำหนดแนวทางการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน
References
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 136 ตอนที่ 78 ก) [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 ธันวาคม 28]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/ethg/file/ ministerial_ddc.pdf.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. คู่มือแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2563–2567) [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มกราคม 1]. เข้าถึงได้จาก: http://odpc9.ddc.moph.go.th/DPC5/KPI.htm.
Isniah S, Hardi Purba H., Debora F. Plan do check action (PDCA) method: literature review and research issues. Jurnal Sistem dan Manajemen Industri. 2020;4(1):72–81.
มารยาท โยทองยศ, ปราณี สวัสดิสรรพ์. การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย [อินเตอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 2565 มิถุนายน 10]. เข้าถึงได้จาก: http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/Bitstream/123
/1580/3/เอกสารหมายเลข2.pdf .
ขนิษฐา ศรีวันทา, สมร นุ่มผ่อง, อรทัย พัดเกาะ. การประเมินผลการแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อด้วยกลไก การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรค เขตเมือง. 2563;5(2):116–128.
คณะทำงานบริหารจัดการความรู้ สำนักนโยบายและแผน. คู่มือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566สิงหาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.
php?nid=92540&filename=index_gov_datainfo.
ธนพร บุษบาวไล, ทรงยศ พิลาสันต์, วิลาวรรณ ล้วนคงสมจิตร, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส. รายงานผลการประเมินการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 กรกฎาคม 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hitap.net/wp-content/uploads/2021/01/Full-report_AMR.pdf.
Ranjalkar J, Chandy SJ. India’s National Action Plan for antimicrobial resistance - An overview of the context, status, and way ahead. J Family Med Prim Care. 2019;8(6):1828–1834.
พิมพาพร เชื้อบางแก้ว. การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 2565;10(1): 81–99.
เปรมากร หยาดไธสง, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2565;22(2):175–188.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา ถือว่าเป็น
ลิขสิทธิ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา