The Development and Effectiveness of a Violence Prevention Program for Thai High School Adolescents
Keywords:
นักเรียนวัยรุ่น, ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง, ความรุนแรง, โปรแกรมการป้องกันการใช้ความรุนแรง, Adolescent students, Self-Care Deficit Theory of Nursing, Violence, Violenceprevention programAbstract
บทคัดย่อ
การใช้ความรุนแรงในวัยรุ่นมีจำนวนมากขึ้น และเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับการดูแล การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันความรุนแรงต่อความรุนแรงของนักเรียนวัยรุ่นไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษา โปรแกรมสร้างขึ้นจากทฤษฏีความพร่องในการดูแลตนเองและแนวคิดความรุนแรง ทำการทดสอบประสิทธิผลโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบระหว่างช่วงเวลาที่มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนวัยรุ่น 45 คน อายุ 12-15 ปี ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว แบบวัดทัศนคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรง แบบวัดทักษะการจัดการความรุนแรง ได้แก่ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล การเผชิญกับภาวะอารมณ์ และความเครียด ทักษะการแก้ไขปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคม และใช้การสังเกต พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางร่างกาย และทางวาจา จากระยะเริ่มต้นในสัปดาห์แรก หลังจากนั้นนักเรียนยังคงได้รับการดูแลตามสภาพเดิมของโรงเรียนตลอด 12 สัปดาห์แล้วจึงดำเนินการให้การดูแลตามโปรแกรมการป้องกันความรุนแรงอีก 12 สัปดาห์ ได้ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อประสิทธิผลของโปรแกรม โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติการดูแลตนเอง3 ระยะคือ ระยะของการพิจารณา ระยะการตัดสินใจซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติ ระยะดำเนินการปฏิบัติ และประเมินความสามารถในการปฏิบัติ วิเคราะห์ผลของโปรแกรมโดยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวัดซ้ำโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการศึกษาพบว่า คะแนนพฤติกรรมก้าวร้าว และทัศนคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรงลดลงหลังจากนักเรียนได้รับโปรแกรมการป้องกันการใช้ความรุนแรง และยังพบว่าคะแนนทักษะการจัดการความรุนแรงสูงขึ้นในทุกด้าน จากการสังเกต พบว่ามีความถี่ของพฤติกรรมก้าวร้าวทางร่างกาย และพฤติกรรมก้าวร้าวทางวาจาลดลงในทุกพฤติกรรม
ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทั้ง3 ระยะในการปฏิบัติการดูแลตนเอง จึงเป็นไปได้ว่า โปรแกรมการป้องกันความรุนแรงมีประสิทธิผลในการลดพฤติกรรมก้าวร้าว และลดทัศนคติทางบวกต่อการใช้ความรุนแรงได้ และยังเพิ่มทักษะในการจัดการความรุนแรงโปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิจัยต่อเนื่องเพื่อขยายผลต่อการจัดการศึกษา และนำไปประยุกต์ใช้ในระบบการบริการทางการพยาบาล รวมถึงหน่วยงานที่มีภารกิจต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคมไทยต่อไป
คำสำคัญ: นักเรียนวัยรุ่น; ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง; ความรุนแรง; โปรแกรมการป้องกันการใช้ความรุนแรง
Abstract
Violence among adolescents has increasingly become recognized as a criticalsocial problem. The purpose of this study was to develop and evaluate the effectivenessof a violence prevention program for Thai high school adolescents. The program wasbased on Orem’s Self-Care Deficit Theory of Nursing.
A within group repeated measures design was used. The sample consisted of 45Thai adolescents, 12-15 years of age, with moderate to high scores of aggressive behaviorand favorable attitudes toward violence. Subjects were purposively selected to receivethe 12-week violence prevention program, after being tested and observed. Data werecollected via: a researcher-developed Personal Data Sheet; a modified version of Buss’and Perry’s Aggressive Behaviors Scale; Buss’ and Perry’s Observational AggressiveBehavior Scale; a modified version of Brillhart’s, Jay’s and Wyers’Attitude Toward ViolenceScale; a researcher-developed Violence Management Skills Test; and, a researcher-developed Student Satisfaction with the Violence Prevention Program Questionnaire.Data were analyzed using descriptive statistics and repeated measures one-way ANOVA.
Scores for aggressive attitudes and behaviors were obtained and compared threetimes, including: at baseline; twelve weeks later, but prior to participation in the interventionprogram; and, upon completion of the 12-week intervention program. The adolescents’aggressive attitudes significantly decreased, while their violence management skills (i.e.interpersonal relationship skills, coping with emotions and stress, problem solving skills,and social responsibility skills) significantly increased. The frequency of their observedphysical and verbal aggressive behaviors also decreased after they completed the program.The students’ satisfaction with the 12-week program was high.
Keywords: Adolescent students; Self-Care Deficit Theory of Nursing; Violence; Violenceprevention program
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright: The Pacific Rim International Journal of Nursing Research, Thailand Nursing & Midwifery Council has exclusive rights to publish, reproduce and distribute the manuscript and all contents therein.