Cultural Care for Persons with diabetes in the community: An ethnographic study in Thailand

Authors

  • Piyatida Nakagasien Ph.D. (Candidate), Faculty of Nursing, Khon Kaen University , Thailand
  • Khanitta Nuntaboot Associate Professor, Faculty of Nursing, Khon Kaen University, Thailand
  • Bumphenchit Sangchart Associate Professor, Faculty of Nursing, Khon Kaen University, Thailand

Keywords:

วัฒนธรรม, วัฒนธรรมการจัดการดูแล, โรคเบาหวาน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงชาติพันธุวรรณนาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจวัฒนธรรมการจัดการดูแลผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจากทัศนะของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นผู้ที่เป็นเบาหวานจำนวน 30 ราย ศึกษาข้อมูลในชุมชนชนบทแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้เวลาในการเก็บรวบรวม ข้อมูล 18 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนี้อหา

ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนให้ความหมายเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ตามการรับรู้ ความเชื่อ และประสบการณ์ตรงของตนเอง และการให้ความหมายต่อโรคเบาหวานยัง ก่อให้เกิดการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมของชุมชน

ข้อค้นพบจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานของ ชุมชนเกิดขึ้นจากความรู้ในสองกระแสหลัก คือ ความรู้เชิงสังคมวัฒนธรรมเติมเต็มกับความรู้เชิงชีวการแพทย์ เป้าหมายสำคัญของการจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนชนบทอีสาน มุ่งเน้นที่การดำรงชีวิตอยู่ได้ ทำมาหากินได้ ซึ่งเรียกว่า “พออยู่ได้” หรือ “อยู่ดีมีแฮง” เป็นตัวตั้ง ไม่ไต้ มุ่งเน้นที่การรักษา หรือ การควบคุมระดับน้ำตาลได้หรือไม่ได้

ความรู้ที่ไต้จากการวิจัยครังนี้ มีความสำคัญกับบุคลากรสาธารณสุข โดยจะก่อให้เกิดความ เข้าใจในความเหมือนหรือความแตกต่างของวัฒนธรรมการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของชุมชน ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างทางวัฒนธรรมระหว่างผู้รับบริการกับระบบวิชาชีพด้านสุขภาพ

คำสำคัญ: วัฒนธรรม วัฒนธรรมการจัดการดูแล โรคเบาหวาน

 

Abstract

This ethnographic study aimed to explore cultural care through the world view of persons with diabetes. Key informants were 30 diabetic patients from one rural community in Northeast Thailand. Data were collected using participant observations, in-depth interviews, with on 18 month period of fieldwork. The data was analyzed by content analysis.

According to the results, it was revealed that the definition of DM, provided by persons with DM, is based on their perception, beliefs with their first-hand experiences. Providing a cultural meaning of DM will certainly contribute to cultural care management for persons with DM in the community.

The study shows that the cultural care management for persons with DM in the community occurs based on knowledge rooted in socio-cultural aspects as well as biomedical knowledge. The important goal of care management for persons with DM in the rural community context of E-saan is staying alive and living their lives normally without focus on cure or the control of blood sugar levels.

The result from the research is very useful for health personnel. It will help them become more aware of cultural differences and similarities when taking care of persons with DM. Hopefully, this can reduce cultural gaps between persons with DM and health professionals groups.

Key words: culture, cultural care management, diabetes

Downloads

How to Cite

1.
Nakagasien P, Nuntaboot K, Sangchart B. Cultural Care for Persons with diabetes in the community: An ethnographic study in Thailand. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Nov. 18];12(2):121-30. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5883

Issue

Section

Original paper