Comparison of Sacral Skin Temperature of Thai Adults Lying on a Thai Hospital Mattress and a Krajud Mat

Authors

  • Wipa Sae-Sia Lecturer, Department of Surgical Nursing, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Thailand
  • Luppana Kitrungrote Lecturer, Department of Surgical Nursing, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Thailand

Keywords:

อุณหภูมิผิวหนังก้นกบ, แผลกดทับ, ที่รองรับ, เสื่อกระจูด

Abstract

บทคัดย่อ

อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจากการสะสมความร้อนระหว่างผิวหนังกับที่รองรับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังถูกทำลายและเกิดแผลกดทับได้ การวิจัยแบบสลับเปลี่ยน (crossover) ครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิผิวหนังบริเวณก้นกบของกลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพดี 32 คนขณะนอนบนเบาะโรงพยาบาลและบนเสื่อกระจูด กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนได้รับการวัดอุณหภูมิผิวหนัง บรเวณก้นกบขณะนอนบนที่รองรับแต่ละประเภท ในท่าตะแคง ท่านอนหงาย 2 ชั่วโมงและท่านอนตะแคงอีกครั้ง ผลการวิจัยพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าพื้นฐานของอุณหภูมิ ผิวหนังบริเวณก้นกบของกลุ่มตัวอย่างในขณะนอนท่าตะแคงบนที่รองรับทั้งสองประเภท แต่พบว่า อุณหภูมิผิวหนังบริเวณก้นกบของกลุ่มตัวอย่างเมื่อนอนหงายบนเบาะโรงพยาบาลครบ 2 ชั่วโมงสูงกว่า อุณหภูมิผิวหนังบริเวณก้นกบเมื่อนอนหงายบนเสื่อกระจูดอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.0001) การลดลง ของอุณหภูมิผิวหนังบริเวณก้นกบขณะนอนหงายบนเสื่อกระจูดเป็นผลมาจากความเย็นของเสื่อกระจูด การวิจัยครั้งต่อไปจึงควรมีการศึกษาถึงประโยชน์ของการนำเสื่อกระจูดไปใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลและหรืออยู่ที่บ้าน

คำสำคัญ: อุณหภูมิผิวหนังก้นกบ แผลกดทับ ที่รองรับ เสื่อกระจูด

 

Abstract

Heat accumulation between the skin and support surface can induce high skin temperature and skin breakdown, as well as pressure ulcer development. The purpose of this crossover experimental design study was to compare the sacral skin temperatures (SSTs) of 32 healthy Thai subjects lying on a Thai hospital mattress and on a local natural leaf (Krajud) mat. Each subject’s SSTs were initially measured while lateral on each support surface, then while supine for 2 hours, and then again while lateral. No significant difference was found among the subjects’ baseline SSTs between the two types of support surfaces. However, the subjects’ SSTs at the end of being supine for 2 hours on the hospital mattress were found to be higher than when they were on the Krajud mat (p < 0.0001). The decrease in SSTs while lying on the Krajud mat is attributed to the mat’s cooling effect. The benefits of using Krajud mats for hospitalized and/or home-bound patients are worthy of further study.

Keywords: sacral skin temperature, pressure ulcer, support surfaces, Krajud mats

Downloads

How to Cite

1.
Sae-Sia W, Kitrungrote L. Comparison of Sacral Skin Temperature of Thai Adults Lying on a Thai Hospital Mattress and a Krajud Mat. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 26];12(2):142-51. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5885

Issue

Section

Original paper