Factors Predicting Health Promoting Behaviors among Older Pregnant Thais

Authors

  • Supawadee Thaewpia RN, PhD. Instructor, Srimahasarakham Nursing College, Tumbon Sila, Amphur Muang, Mahasarakham, Thailand.
  • Mary Jo Clark RN, PhD. Professor, Hahn School of Nursing and Health Science, University of San Diego, 5998 Alcala Park, San Diego, CA, USA
  • Lois Chandler Howland RN, DrPH. Associate Professor, Hahn School of Nursing and Health Science, University of San Diego, 5998 Alcala Park, San Diego, CA, USA.
  • Kathy Shadle James DNSc, APRN. Associate Professor, Hahn School of Nursing and Health Science, University of San Diego, 5998 Alcala Park, San Diego, CA, USA.

Keywords:

หญิงตั้งครรภ์อายุมาก, การส่งเสริมสุขภาพ, การตั้งครรภ์เสี่ยง, Advanced maternal age, Health promotion, High risk pregnancy

Abstract

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่งผลให้หญิงชายไทยสมรสเมื่อพร้อมในอายุที่มากขึ้น ดังนั้นจำนวนหญิงตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี จึงเพิ่มขึ้น หญิงตั้งครรภ์กลุ่มนี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งในมารดาและทารก การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในหญิงตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไปยังมีจำกัด ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์อายุมากกว่า35 ปี

กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกโดยการเจาะจงคุณสมบัติตามที่ระบุไว้จำนวน 142 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์อายุ 35 ปีขึ้นไปที่มารับการฝากครรภ์ โรงพยาบาลรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 4 แห่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะของตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ส่วนข้อมูลภาวะสุขภาพของมารดาและทารกรวบรวมจากแบบบันทึกทางการแพทย์และการพยาบาลของกลุ่มตัวอย่างแต่ละราย

ผลการศึกษาพบว่าระดับการศึกษา การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพการรับรู้สมรรถนะของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่าการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35ปีได้ร้อยละ 49.3 ดังนั้น พยาบาลควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีการรับรู้สมรรถนะของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ร่วมกับให้ความรู้ถึงประโยชน์ในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์อายุมากมีภาวะสุขภาพที่ดีทั้งมารดาและทารกต่อไป

คำสำคัญ: หญิงตั้งครรภ์อายุมาก; การส่งเสริมสุขภาพ; การตั้งครรภ์เสี่ยง

 

Abstract

Societal changes in Thailand have caused individuals to marry later in liferesulting in a rapid increase in the number of women becoming pregnant at older ages.Women becoming pregnant beyond 35 years of age are at a greater risk for poor pregnancyoutcomes and, as a result, in need of good health practices. However, limited data existsregarding maternal factors associated with health promoting behaviors among olderpregnant Thais. Therefore, the purpose of this prospective correlational study was to describethe relationships among maternal factors and health promoting behaviors in pregnant,older Thais.

The sample consisted of 142 pregnant Thais who were 35 years of age or older andattending antenatal clinics in four public hospitals in Thailand. Data were collected via the:Personal Characteristics Questionnaire; Perceived Benefits and Perceived Barriers ofHealth Promoting Behaviors Scale; General Self-Efficacy Scale; Interpersonal RelationshipInventory Questionnaire; and, Health Promotion Lifestyle Profile II Scale. Maternal outcomeswere obtained from the subjects’ medical records. The results revealed the women’shealth promoting behaviors were significantly associated with their level of education,perceived benefits of health promoting behaviors, self-efficacy and social support.

Regression analysis revealed self-efficacy, perceived benefits of health promotingbehaviors and social support explained 49.3% of the variance in actual health promotingbehaviors. The findings suggested, to improve health promoting behaviors among thisat-risk population, there is a need for enhancement of self-efficacy and social supportcombined with education about the benefits of health promoting behaviors.

Keywords: Advanced maternal age; Health promotion; High risk pregnancy

Downloads

How to Cite

1.
Thaewpia S, Clark MJ, Howland LC, James KS. Factors Predicting Health Promoting Behaviors among Older Pregnant Thais. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Nov. 14];16(2):113-2. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5964

Issue

Section

Original paper