Effectiveness of a Collaborative Home-School Behavior Management Program for Parents and Teachers of Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder

Authors

  • Walailak Pumpuang MA, RN, PhD (candidate) Lecturer, Faculty of Nursing, Mahidol University, Bangkoknoi, Bangkok, 10700 Thailand.
  • Rutja Phuphaibul RN, DNS. Professor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, 10400 Thailand.
  • Pisamai Orathai RN, PhD. Assistant Professor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, 10400 Thailand.
  • Wimolnun Putdivarnichapong RN, DNS. Lecturer, Faculty of Nursing, Mahidol University, Bangkoknoi, Bangkok, 10700 Thailand.

Keywords:

โรคซนสมาธิสั้น, การจัดการพฤติกรรม, โปรแกรมระหว่างบ้านและโรงเรียน, และเด็กวัยเรียน, ADHD, Behavior management, Home-school program, School-age children

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโปรแกรมความร่วมมือระหว่างบ้าน และโรงเรียนในการจัดการพฤติกรรมสำหรับเด็กซนสมาธิสั้น โดยมีแนวคิดพื้นฐานมาจากการผสมผสานแนวคิดของบาร์คลีย์เกี่ยวกับการบริหารจัดการและการควบคุมตนเอง และทฤษฎีการใช้อำนาจบังคับของแพทเทอร์สัน กลุ่มตัวอย่างเป็นพ่อแม่และครูอย่างละ 1 คนของเด็ก 57 คนที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นซึ่งได้รับการรักษาจากหนึ่งในสองแห่งของคลินิกจิตเวชเด็กในกรุงเทพมหานคร และศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ก่อนคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างจะถูกจับคู่โดยประเมินจากเพศของเด็ก การรับรู้ของพ่อแม่ต่อความรุนแรงของพฤติกรรมเด็ก และการรับรู้ของพ่อแม่ต่อความสามารถของตนเองในการจัดการกับพฤติกรรมเด็ก โดยกลุ่มตัวอย่างที่เข้ากลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมความร่วมมือระหว่างบ้าน และโรงเรียนในการจัดการพฤติกรรมเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการทดลอง

ผลการศึกษาพบว่า หลังจากสิ้นสุดการทดลองทันที และเมื่อติดตามผล 1 เดือน พ่อแม่และครูที่เข้ากลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับโรคซนสมาธิสั้นเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับพ่อแม่และครูที่เข้ากลุ่มควบคุม ถึงแม้ว่าเมื่อเวลาผ่านไป พ่อแม่ในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการใช้อำนาจบังคับลดลงอย่างมีนัยสำคัญและพ่อแม่ในกลุ่มควบคุมมีพฤติกรรมการใช้อำนาจบังคับลดลงเพียงเล็กน้อย แต่คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการใช้อำนาจบังคับของทั้งสองกลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในพฤติกรรมก่อกวนของเด็ก และพฤติกรรมการจัดการในห้องเรียนของครู ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเข้าร่วมโปรแกรมการทดลองมีประสิทธิผลในการจัดการกับความรู้เกี่ยวกับโรคซนสมาธิสั้นของพ่อแม่และครู

คำสำคัญ: โรคซนสมาธิสั้น; การจัดการพฤติกรรม; โปรแกรมระหว่างบ้านและโรงเรียน; และเด็กวัยเรียน

 

Abstract

This study aimed to examine, using a comparison group design, with repeatedmeasures, the effects of a collaborative home-school behavior management program, forchildren with attention deficit hyperactivity disorder (ADHD), based on the integrationof Barkley’s model of executive functions and self-regulation, and Patterson’s coerciontheory. Participants were a respective parent and respective teacher of 57, first to fourthgrade, children with ADHD who were receiving treatment at one of two psychiatric clinicsfor children in greater Bangkok. Prior to assignment to either the intervention groupor control group, participants were matched based on each child’s: gender; parentalperception of the severity of their child’s behavior; and, parental sense of competencefor handling their child’s behavior. Those assigned to the intervention group participatedin an 8 week home-school behavior management program, while those in the controlgroup did not take part in the program.

The findings suggested that, immediately following completion of the behavioralmanagement program and one month later, the parents and teachers in the interventiongroup, compared to the parents and teachers in the control group, demonstrated anincrease in knowledge regarding ADHD. Although, over time, a significant reduction incoercive behavior was demonstrated by the parents in the intervention group and onlya slight reduction in coercive behavior was demonstrated by the parents in the controlgroup, the average difference of the parents’ coercive behavior between the two groupswas not significant. No improvement in either group was found regarding the disruptivebehaviors of the children or the teachers’ classroom management behaviors. The resultssuggest the intervention program was successful in dealing with parental and teacherknowledge about ADHD.

Keywords: ADHD; Behavior management; Home-school program; School-age children

Downloads

How to Cite

1.
Pumpuang W, Phuphaibul R, Orathai P, Putdivarnichapong W. Effectiveness of a Collaborative Home-School Behavior Management Program for Parents and Teachers of Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorder. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Nov. 24];16(2):138-53. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5967

Issue

Section

Original paper