Thai Women’s Perceptions of the Causes of Hypertension Based on Age and Educational Level

Authors

  • Sirirat Leelacharas RN, PhD. Clinical Instructor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, University, Bangkok, Thailand
  • Dolrat Rujiwatthanakorn RN, PhD. Clinical Instructor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand.

Keywords:

อายุ, ระดับการศึกษา, การรับรู้ความเจ็บป่วย, ความดันโลหิตสูง, ผู้หญิงไทย, Age, Educational level, Illness perceptions, Hypertension, Thai women

Abstract

บทคัดย่อ

จากการทบทวนวรรณกรรมในปัจจุบันนี้ การรับรู้ความเจ็บป่วยในผู้หญิงไทยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงโดยศึกษาจากสาเหตุภายนอกและภายในยังขาดความเด่นชัด จุดประสงค์ของการศึกษานี้ต้องการตรวจสอบสาเหตุภายนอกและสาเหตุภายในของการรับรู้ความเจ็บป่วยของผู้หญิงไทยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง จำแนกตามอายุ และระดับการศึกษา โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของการศึกษาก่อนหน้านี้ สาเหตุภายนอกคือ การรับรู้ความเจ็บป่วยของสาเหตุจากภายนอกร่างกายและจากสิ่งแวดล้อม เช่นจากเชื้อโรคหรือไวรัส อาหาร มลภาวะต่างๆ โอกาสการเกิดความเจ็บป่วยหรือโรคจากผู้อื่น และจากการรักษาที่ไม่ดี ส่วนสาเหตุภายในคือ การรับรู้ความเจ็บป่วยของสาเหตุจากภายในร่างกาย เช่นจากพันธุกรรม ความเครียด พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของตนเอง และจิตใจ ข้อมูลทุติยภูมิประกอบด้วย ผู้หญิงไทยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำนวน 253คน อายุ ระดับการศึกษา และแบบสอบถามการรับรู้ความเจ็บป่วยที่เป็นฉบับแปลภาษาไทย ในการศึกษานี้วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิงได้แก่ สถิติ ANOVA สถิติ MANOVA และสถิติ MANCOVA โดยศึกษาความแตกต่างของสาเหตุภายนอกและสาเหตุภายในของภาวะความดันโลหิตสูงในผู้หญิงไทยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง จำแนกตามอายุ และระดับการศึกษา

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงไทยที่มีระดับการศึกษาต่ำรับรู้การเจ็บป่วยจากสาเหตุภายนอกมากกว่าผู้หญิงไทยที่มีระดับการศึกษาสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยสาเหตุภายนอกและสาเหตุภายในเมื่อจำแนกตามอายุ ในระดับการศึกษาที่ต่างกันของผู้หญิงไทยมีผลต่อการรับรู้ความเจ็บป่วยของสาเหตุการเกิดความดันโลหิตสูง ดังนั้นการจัดโปรแกรมการศึกษาด้านสุขภาพสำหรับผู้หญิงไทยที่มีระดับการศึกษาต่ำอาจช่วยให้เข้าใจสาเหตุของการเกิดความดันโลหิตสูงและเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ: อายุ; ระดับการศึกษา; การรับรู้ความเจ็บป่วย; ความดันโลหิตสูง; ผู้หญิงไทย

 

Abstract

To date, perceptions among hypertensive Thai women regarding causes ofhypertension is poorly understood. Therefore, the purpose of this study was to examine,in 253 Thai women, their perceptions (external and internal) of the causes of theirhypertension based on age and educational level. An external cause of illness wasperceived to be the result of something from outside of the body (e.g. germs or viruses,diet, pollution, chance, other people and/or poor medical care), while an internal causewas considered the result of something within the body (e.g. heredity, stress, personalbehavior, and/or state of mind). Data were obtained using a demographic data recordand an illness perception scale. Data analysis included the use of descriptive statistics,ANOVA, MANOVA, MANCOVA, Wilks’ lamda multivariate test, and the Scheffé testand/or Games-Howell test.

The results revealed Thai women with lower educational levels reported significantlygreater external causes of their hypertension than did Thai women with higher levelsof education. No differences were found between the external and internal causes ofhypertension based on age. These findings suggest the need for educational healthprograms designed for hypertensive Thai women with low levels of education so theycan better understand the cause of their illness and, thereby, increase their ability tobetter control their blood pressure.

Key Words: Age; Educational level; Illness perceptions; Hypertension; Thai women

Downloads

How to Cite

1.
Leelacharas S, Rujiwatthanakorn D. Thai Women’s Perceptions of the Causes of Hypertension Based on Age and Educational Level. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 20];16(1):3-12. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/5970