Prevalence, Associated Factors and Predictors of Elder Abuse in Thailand
Keywords:
ความชุกของการทารุณกรรมผู้สูงอายุ, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทารุณกรรมผู้สูงอายุ, ปัจจัยทำนายการทารุณกรรมผู้สูงอายุ, ประเทศไทย, Prevalence of elder abuse, Factors associated with elder abuse, Predictorsof elder abuse, ThailandAbstract
บทคัดย่อ
ความรู้และการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทารุณกรรมต่อผู้สูงอายุไทยมีไม่มากนัก แต่กลับพบว่าความชุกของปัญหานี้สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ การวิจัยเชิงบรรยายแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของพฤติกรรมทารุณกรรมต่อผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุ จำนวน 233 ราย ที่อาศัยอยู่ในอำเภอลาดกระบัง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณา การทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค
การศึกษาพบว่า ร้อยละ14.6 ของผู้สูงอายุมีประสบการณ์ของพฤติกรรมทารุณกรรมต่อผู้สูงอายุตัดสินโดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยพฤติกรรมทารุณกรรม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทารุณกรรมต่อผู้สูงอายุ ได้แก่ เพศ ความเพียงพอของรายได้ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การเปรียบเทียบสุขภาพกับผู้สูงอายุอื่น ปัญหาด้านจิตใจของสมาชิกในครอบครัว การพึ่งพาของสมาชิกในครอบครัวและสัมพันธภาพในครอบครัว มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมทารุณกรรมต่อผู้สูงอายุคือ เพศ ปัญหาของสมาชิกในครอบครัวด้านการพึ่งพา และสัมพันธภาพในครอบครัว โดยพยากรณ์ได้ร้อยละ 28.6 ผลจากการศึกษาทำให้ทราบถึงพฤติกรรมทารุณกรรมต่อผู้สูงอายุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปเพิ่มประสิทธิผลในการวางแผนและจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและจัดการกับปัญหาพฤติกรรมที่สร้างทุกข์ต่อผู้สูงอายุต่อไป
คำสำคัญ: ความชุกของการทารุณกรรมผู้สูงอายุ; ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทารุณกรรมผู้สูงอายุ;ปัจจัยทำนายการทารุณกรรมผู้สูงอายุ; ประเทศไทย
Abstract
Little is known about elder abuse in Thailand. Yet, its prevalence is highcompared to other countries. Thus, this descriptive cross-sectional study examined theprevalence, associated factors and predictors of elder abuse in Thailand. Data werecollected, via interview using questionnaires, from 233 elderly living in metropolitanBangkok and were analyzed by means of descriptive statistics, chi-square, andunivariate and multiple logistic regression analyses.
Results revealed, based on newly developed diagnostic criteria, approximately14.6% of the subjects had been victims of abuse. Factors associated with elder abuseincluded: gender; adequacy of income; perceptions of health; personal healthcompared to the health of other elders; and, family members’ mental health,dependency and relationship issues. Predictors of elder abuse included: gender,family members’ dependency and relationship with family members. These factors copredicted28.6% of elder abuse. The findings provide knowledge about elder abuseand associated factors that may prove helpful in development of effectiveinterventions to prevent and manage abuse among the elderly in Thailand.
Key Words: Prevalence of elder abuse; Factors associated with elder abuse; Predictorsof elder abuse; Thailand
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright: The Pacific Rim International Journal of Nursing Research, Thailand Nursing & Midwifery Council has exclusive rights to publish, reproduce and distribute the manuscript and all contents therein.