Caregiver Role Strain and Rewards: Caring for Thais with a Traumatic Brain Injury

Authors

  • Niphawan Samartkit RN, PhD (Candidate) Faculty of Nursing, Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Saipin Kasemkitvattana RN, DNS. Associate Professor, Faculty of Nursing Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Orapan Thosingha RN, DNS. Assistant Professor, Faculty of Nursing Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Thavatchai Vorapongsathorn PhD. Associate Professor, Faculty of Public Health Mahidol University, Bangkok, Thailand.

Keywords:

ญาติผู้ดูแล, ผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง, รางวัลที่ได้รับจากการดูแล, ความเครียดในบทบาทผู้ดูแล, Caregiver, Traumatic brain injury, Rewards of caregiving, Caregiver role strain

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบจำลองเชิงสาเหตุนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูล การรับรู้ความพร้อมในบทบาทผู้ดูแล ที่มีผลต่อปริมาณการดูแล ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ความเครียดในบทบาทผู้ดูแลและรางวัลที่ได้รับจากการดูแลของญาติผู้ดูแล โดยใช้ The symbolicinteractionist perspective of role strain theory และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลและผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง จำนวน 291 คน ใน 8 จังหวัดภาคตะวันออกเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามจำนวน 9 ชุด

รูปแบบจำลองสุดท้ายที่ปรับแก้ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถอธิบายความเครียดในบทบาทผู้ดูแล ได้ร้อยละ 46 รางวัลที่ได้รับจากการดูแลร้อยละ 41 ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลร้อยละ 19 และปริมาณการดูแลร้อยละ 33 ผลการศึกษา พบว่าความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยมีอิทธิพลโดยตรงทางลบต่อปริมาณการดูแล ปริมาณกิจกรรมการดูแลมีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อความเครียดในบทบาทผู้ดูแล และมีอิทธิพลโดยตรงทางลบต่อการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ในขณะที่ปริมาณการดูแลเป็นตัวแปรกลางที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยกับความเครียดในบทบาทผู้ดูแลและภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและผู้ดูแลมีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ภาวะสุขภาพของผู้ดูแลมีอิทธิพลโดยตรงทางลบต่อความเครียดในบทบาทผู้ดูแลและภาวะสุขภาพของผู้ดูแลเป็นตัวแปรกลางที่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ของผู้ป่วยและผู้ดูแลกับความเครียดในบทบาทผู้ดูแล ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลมีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อปริมาณกิจกรรมการดูแล และรางวัลที่ได้รับจากการดูแล แต่มีอิทธิพลโดยตรงทางลบต่อความเครียดในบทบาทผู้ดูแล การรับรู้การเตรียมความพร้อมในการดูแลมีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อรางวัลที่ได้รับจากการดูแล และภาวะสุขภาพของผู้ดูแล แต่มีอิทธิพลโดยตรงทางลบต่อความเครียดในบทบาทผู้ดูแล ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าพยาบาลควรตระหนักและเห็นความสำคัญของการประเมินและการส่งเสริมให้ญาติผู้ดูแลรับรู้ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลความพร้อมในการดูแล ปริมาณ และภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ความเข้าใจในความสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านี้จะช่วยให้พยาบาลสามารถให้การพยาบาลเพื่อลดความเครียดในบทบาทผู้ดูแลและส่งเสริมให้เกิดรางวัลที่ได้รับจากการดูแลได้

คำสำคัญ: ญาติผู้ดูแล; ผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมอง; รางวัลที่ได้รับจากการดูแล; ความเครียดในบทบาทผู้ดูแล

 

Abstract

Using a predictive model, this study sought to examine, among 291 traumatic braininjury (TBI) survivor-caregiver pairs, causal relationships among care receiver functional status,relationship of caregiver with care receiver, caregiver mutuality, caregiver preparedness, carereceiver amount of care and caregiver health as they relate to caregiver role strain and rewards ofcaregiving. The conceptual framework was guided by the symbolic interactionist perspective ofrole strain theory and related literature regarding caregiving and TBI survivors. Data werecollected, in eight provinces in eastern Thailand, via nine questionnaires, and analyzed throughdescriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient and path analysis.

The final model fit the data well and explained variance in caregiver strain (46%), rewardsof caregiving (41%), caregiver health (19%) and amount of care (33%). The model illustrated carereceiver function had a direct negative effect on amount of care. Care receiver amount of care hada direct positive effect on caregiver role strain, a negative direct effect on caregiver health andmediated the effect of care receiver function on caregiver role strain and health. The caregiver/carereceiver relationship had a positive direct effect on the caregiver’s health, while the caregiver’shealth had a positive direct effect on the caregiver’s role strain. The caregiver’s health mediated theeffect of the caregiver/care receiver relationship on the caregiver’s role strain. Caregiver mutualityhad a direct positive effect on amount of care and rewards of caregiving, but a negative directeffect on caregiver role strain. In addition, care receiver amount of care mediated the effect ofcaregiver mutuality on caregiver health. Caregiver preparedness had a direct positive effect onrewards of caregiving and caregiver health, and a direct negative effect on caregiver strain. Thefindings suggest that enhancing caregivers’ mutuality, preparedness and health may reducecaregivers’ role strain, and increase caregivers’ perceptions of the rewards of caregiving.

Keywords: Caregiver; Traumatic brain injury; Rewards of caregiving; Caregiver role strain

Downloads

How to Cite

1.
Samartkit N, Kasemkitvattana S, Thosingha O, Vorapongsathorn T. Caregiver Role Strain and Rewards: Caring for Thais with a Traumatic Brain Injury. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Dec. 19];14(4):297-314. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/6267