Early Adolescent Thais’ Perceptions of Sexual Identity
Keywords:
เด็กวัยรุ่นตอนต้น, อัตลักษณ์ทางเพศ, วิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณา, Early adolescent, Sexual identity, Descriptive qualitative researchAbstract
บทคัดย่อ
วัยรุ่นตอนต้นเป็นช่วงวัยที่เปลี่ยนผ่านจากความเป็นเด็กสู่ความเป็นผู้ใหญ่ พัฒนาการที่สำคัญในวัยนี้คือการเริ่มต้นพัฒนาอัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งคุกคามตัวตนอันมั่นคงของเด็กวัยรุ่นตอนต้นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศและปัจจัยที่มีผลต่ออัตลักษณ์ทางเพศตามการรับรู้ของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากเด็กวัยรุ่นตอนต้นโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 84 คน และโดยการสัมภาษณ์เด็กวัยรุ่นตอนต้นจำนวน 12 คนวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาของมอร์สและริชชาร์ด
ผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ทางเพศตามการรับรู้ของเด็กวัยรุ่นตอนต้นประกอบด้วย 4 ส่วนคือ 1) เพศสรีระ 2) บทบาททางเพศสภาพ 3) อัตลักษณ์ที่เกี่ยวกับเพศสภาพ และ 4) วิถีทางเพศด้านเพศสรีระ เด็กวัยรุ่นตอนต้นรับรู้ความเป็นหญิงหรือความเป็นชายของตนเองจากการมีอวัยวะแสดงเพศ ด้านบทบาททางเพศสภาพ เด็กวัยรุ่นตอนต้นรับรู้ความเป็นหญิงและความเป็นชายจากลักษณะภายนอก ได้แก่ เครื่องแต่งกาย บุคลิกภาพและกิริยาท่าทาง ด้านอัตลักษณ์ที่เกี่ยวกับเพศสภาพ เด็กวัยรุ่นตอนต้นหญิงรู้สึกภูมิใจที่มีโอกาสได้เป็นแม่ และได้รับการปกป้อง แต่รู้สึกขัดแย้งเกี่ยวกับการมีลักษณะของเพศหญิงและรู้สึกเสียเปรียบเพศชาย ในขณะที่เด็กวัยรุ่นตอนต้นชายรู้สึกภูมิใจในความแข็งแรง ความเป็นสุภาพบุรุษและความเป็นอิสระ และด้านวิถีทางเพศ เด็กวัยรุ่นตอนต้นทั้งเพศหญิงและเพศชายทุกคนมีความรู้สึกดึงดูดใจทางเพศกับเพศตรงข้าม การอบรมสั่งสอนจากครอบครัว สื่อและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการรับรู้อัตลักษณ์ทางเพศของเด็กวัยรุ่นตอนต้นผลการศึกษาครั้งนี้สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการสุขภาพในโรงเรียน บิดามารดา พยาบาลและบุคลากรอื่นๆตระหนักถึงความสำคัญและสนใจในความเสี่ยงของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในระยะเปลี่ยนผ่านของพัฒนาการทางเพศ และพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมอัตลักษณ์ทางเพศสำหรับเด็กวัยรุ่นตอนต้นต่อไป
คำสำคัญ: เด็กวัยรุ่นตอนต้น; อัตลักษณ์ทางเพศ; วิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการพรรณา
Abstract
Early adolescents face many changes during their transition from childhoodto adulthood. Key developmental tasks, during this period of potential risk andinstability, include acquiring a sense of sexual identity. This descriptive qualitativestudy sought to explore early adolescents’ perception of sexual identity and relatedfactors. Qualitative data were gathered from early adolescents via focus groupdiscussions (n = 84) and interviews (n = 12). Data, from both the focus groupdiscussions and interviews, were analyzed, using content analysis described by Morseand Richards.
Findings revealed sexual identity was perceived by Thai adolescents to include:biological sex; gender role; gender identity; and, sexual orientation. Biological sexwas perceived as female or male, based on one’s sexual organs, while gender role,feminine or masculine, was perceived through external appearances includingclothing, personality and manners. With respect to gender identity, girls expressedpride in potentially becoming a mother and being protected, but were conflictedabout female characteristics and being disadvantaged when compared to males.Boys were proud of being strong, being gentlemen and having freedom. Regardingsexual orientation, all adolescents were sexually attracted to the opposite sex. Familyupbringing, the media and school environment were factors perceived to be relatedto sexual identity. The results may help school health providers, parents, nurses andothers better recognize and address early adolescent vulnerabilities, and developappropriate programs that promote sexual identity.
Key words: Early adolescent; Sexual identity; Descriptive qualitative research
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright: The Pacific Rim International Journal of Nursing Research, Thailand Nursing & Midwifery Council has exclusive rights to publish, reproduce and distribute the manuscript and all contents therein.