Outcomes of an Advanced Practice Nurse-Led Type-2 Diabetes Support Group

Authors

  • Suphamas Partiprajak RN, PhD Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Somchit Hanucharurnkul RN, PhD. Professor Emeritus, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Noppawan Piaseu RN, PhD. Associate Professor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  • Dorothy Brooten RN, PhD. Professor, College of Nursing and Health Sciences, Florida International University, Florida, USA.
  • Dechavudh Nityasuddhi PhD. Associate Professor, Department of Biostatistics, Faculty of Public Health, Mahidol University, Bangkok, Thailand.

Keywords:

ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง, เบาหวานชนิดที่ 2, ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน, ผลลัพธ์, Advanced practice nurse, Type-2 diabetes, Support groups, Outcomes

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย เบาหวานระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าชมรมที่จัดขึ้นเฉพาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยผู้ปฏิบัติการขั้นสูง กับผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ได้เข้าชมรม โดยวัดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานประกอบด้วยดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต ไขมันในเลือด ฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ การนอนโรงพยาบาล ความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิต และความพึงพอใจในบริการที่ได้รับ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 100 คน เป็นผู้ป่วยที่เข้าชมรม 44 คน และผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าชมรม 56 คน โดยเก็บข้อมูลที่โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการดูแลที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่เข้าชมรมจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมชมรมอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางด้านสุขภาพและการตรวจรักษา 2) แบบวัดความสามารถในการดูแลตนเอง 3) แบบวัดคุณภาพชีวิต 4) แบบวัดความพึงพอใจในบริการพยาบาล และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เพื่อประเมินการให้บริการพยาบาลและการจัดการการดูแลโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง โดยใช้สถิติ MANOVA, t-tests and Mann-Whitney U tests ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี Content analysis ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าชมรม มีระดับความดันซีสโตลิกต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าชมรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าชมรมมีความสามารถในการดูแลตนเอง คุณภาพชีวิต และความพึงพอใจในบริการสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าชมรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) การบริการพยาบาลและการจัดการการดูแลโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงประกอบด้วย 1) การติดตามและจัดการกับปัญหาของผู้ป่วย 2) การช่วยเหลือผู้ป่วยออกกำลังกายแบบเป็นกลุ่ม 3) การสนับสนุนการจัดการตนเอง 4) การทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ 5) การให้การดูแลอย่างต่อเนื่องและองค์รวม และ 6) การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและและบุคลากรในทีมสุขภาพ

คำสำคัญ : ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง, เบาหวานชนิดที่ 2, ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน, ผลลัพธ์

 

Abstract

The purpose of this mixed methods study was to: a) compare differences in outcomes of diabetes care between patients with type-2 diabetes attending an advanced practice nurse- led support group and patients who did not attend the group; and, b) examine the process of advanced practice nurse care services and care management for support group patients. Outcomes of diabetes care included: body mass index, blood pressure, lipid profile, glycated hemoglobin, hospitalization, self- care abilities, quality of life and satisfaction with care. The subjects, 100 type-2 diabetics receiving care in a tertiary care hospital in southern Thailand, were placed into the support group (n= 44) or the comparison group (n = 56). Quantitative data were collected via a: Personal and Medical Information Questionnaire; Diabetes Self-Care Abilities Assessment; Diabetes Quality of Life Questionnaire; and, Satisfaction with Nursing Care Questionnaire. Qualitative data, regarding advanced practice nurse care services and care management, were obtained via interview and observation. The quantitative data were analyzed using MANOVA, t-tests and Mann-Whitney U test, while the qualitative data were analyzed via content analysis.

The results indicate the advanced practice nurse-led support group members had: lower systolic blood pressures (p < .05), as well as higher self-care abilities (p < .001), quality of life (p < .001) and satisfaction with care (p < .001), compared to those in the comparison group. The advanced practice nurse care services and care management of the members of the support group were found to include: monitoring and managing health problems; facilitating group exercises; providing self-management education; collaborating with multidisciplinary team members; establishing continuity of care and holistic care services; and, consulting with patients and healthcare providers.

Keywords : Advanced practice nurse, Type-2 diabetes, Support groups, Outcomes

Downloads

How to Cite

1.
Partiprajak S, Hanucharurnkul S, Piaseu N, Brooten D, Nityasuddhi D. Outcomes of an Advanced Practice Nurse-Led Type-2 Diabetes Support Group. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 26];15(4):288-304. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/6440