Middle-Aged Urban Thai Women’s Management of Stress and Anger

Authors

  • Manee Arpanantikul RN, PhD. Associate Professor, Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400 Thailand.

Keywords:

สตรีไทยเขตเมือง, การจัดการความเครียดและความโกรธ, วัยกลางคน, Urban Thai women, Stress and anger management, Middle-age

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของสตรีไทยในเขตเมืองในการจัดการความเครียดและความโกรธระหว่างช่วงวัยกลางคน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการทางปรากฏการณ์วิทยาของไฮเดกเกอร์และทฤษฎีสตรีนิยม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์สตรีไทยวัยกลางคนในเขตเมืองในเรื่องวิธีการจัดการความเครียดและความโกรธ ข้อมูลได้รับการวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของเบนเนอร์

ผลการศึกษาเปิดเผยว่า สตรีมีความเครียดและความโกรธซึ่งเป็นการตอบสนองต่อความกดดันที่สตรีต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน วิธีการจัดการความเครียดและความโกรธของสตรีประกอบด้วย 5 ประเด็นหลักได้แก่ การเงียบ การให้อภัย การแสดงออกทางจิตวิญญาณ กระบวนการเปลี่ยนแปลงความคิด และการเบี่ยงเบนความสนใจ ความเครียดและความโกรธที่สตรีเผชิญส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของสตรีได้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติที่สตรีใช้ทั้ง 5 วิธีการเพื่อจัดการความเครียดและความโกรธนี้จะช่วยสร้างเสริมสุขภาพของสตรีและทำให้สตรีมีความสุข ผลการศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์สำหรับพยาบาลที่ทำงานกับสตรีไทยในเขตเมืองที่กำลังจัดการกับปัญหาความเครียดและความโกรธในแต่ละวัน

คำสำคัญ : สตรีไทยเขตเมือง, การจัดการความเครียดและความโกรธ, วัยกลางคน

 

Abstract

The purpose of this qualitative study was to explore the lived experiences of urban Thai women in managing stress and anger during middle age. Utilizing Heideggerian phenomenology and feminist theory, data were gathered through interview on middle-aged, urban, Thai women regarding how they managed stress and anger. Data were analyzed using Benner’s method for content analysis.

The findings revealed the women experienced stress and anger in response to the pressures they encountered during everyday life. The process of their stress and anger management included five themes: keeping silent; forgiving; seeking spirituality; changing one’s thinking process; and, shifting interest. The stress and anger the women experienced appeared to contribute to their health problems. However, the manner in which they used the five stages of the identified stress and anger management process appeared to promote their health and happiness. These findings could prove helpful to nurses as they work with middle-aged urban Thai women who are dealing with their daily stress and anger issues.

Keywords : Urban Thai women, Stress and anger management, Middle-age

Downloads

How to Cite

1.
Arpanantikul M. Middle-Aged Urban Thai Women’s Management of Stress and Anger. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 May 9];15(4):323-3. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/6446