Physical Activity Questionnaire Development and Testing among Elderly Community-Dwelling Thais

Authors

  • Vanida Visuthipanich PhD Candidate, Department of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University
  • Yupapin Sirapo-ngam Associate Professor, Department of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University
  • Porntip Malathum Assistant Professor, Department of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University
  • Kallaya Kijboonchoo Associate Professor, Institute of Nutrition, Mahidol University
  • Thavatchai Vorapongsathorn Associate Professor, Faculty of Public Health, Mahidol University
  • Kerri M. Winters-Stone Associate Professor, School of Nursing, Oregon Health & Science University

Keywords:

ผู้สูงอายุไทย, กิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกาย, การพัฒนาและทดสอบคุณภาพแบบสอบถาม, elderly Thais, physical activity, questionnaire development and testing

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพของแบบสอบถามกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงและการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุไทยในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ระยะโดยระยะที่ 1 คือการพัฒนาแบบสอบถาม ซึ่งมี 6 ขั้นตอนคือ 1) การให้ความหมาย 2) การสร้างข้อคำถาม 3) การกำหนดตัวเลือก 4) การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา 5) การนำไปทดลองใช้ และ 6) การวิเคราะห์จำแนกข้อคำถาม ผลการพัฒนาได้ค่าความสอดคล้องและค่าดัชนีความตรงของแบบถามฉบับร่างที่ 1(47 ข้อ) เท่ากับ .99 และ .89 ตามลำดับ นำแบบสอบถามฉบับร่างที่ 2 (48 ข้อ) ไปตรวจความตรงเฉพาะหน้าและนำแบบสอบถามฉบับร่างที่ 3 (77 ข้อ) ตามเนื้อหา 4 กลุ่ม คืองานบ้าน การทำงาน กิจกรรมในเวลาว่าง รวมทั้งการเดินทาง ไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุในชุมชน รวมทั้งการวิเคราะห์จำแนกข้อคำถามของแบบสอบถามฉบับร่างที่ 3 ตามกลุ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงจากการค้นคว้าและการลดจำนวนข้อที่ผู้สูงอายุไม่ได้ทำ ในขั้นตอนการทดลองใช้ เพื่อให้ได้แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ (55 ข้อ)

ระยะที่ 2 คือการทดสอบคุณภาพแบบสอบถามด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเพื่อหาค่าความสัมพันธ์กันทางสถิติ ประกอบด้วยความตรงตามสภาพ ความตรงเชิงทำนาย และความเชื่อมั่นได้ค่าความสัมพันธ์ที่ยอมรับได้ระหว่างแบบสอบถามกับเครื่องวัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง และแบบสอบถามมีค่าความตรงเชิงทำนายอยู่ในเกณฑ์ดีเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของร่างกายด้วยความสัมพันธ์กับการทดสอบความอดทนของร่างกาย อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์เชิงสถิติเกี่ยวกับความแข็งแรงและเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกาย ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่วัดห่างกัน 7 วันอยู่ในระดับดี การศึกษานี้แสดงว่าแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีความสะดวก ง่ายและเหมาะสมต่อการใช้ได้ดี ถึงแม้ว่าค่าสัมประสิทธิ์ความตรงตามสภาพของแบบสอบถามนี้จะไม่สูงนัก แต่ก็สอดคล้องกับผลการศึกษาในต่างประเทศ

คำสำคัญ: ผู้สูงอายุไทย กิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกาย การพัฒนาและทดสอบคุณภาพแบบสอบถาม

 

Abstract

This descriptive cross-sectional research aimed to develop and test a selfreport physical activity questionnaire (SPAQ) among elderly community-dwelling Thais. The study involved two phases. Phase I, questionnaire development, consisted of six steps: 1) defining the concept; 2) generating an item pool; 3) defining the choices of responses to items; 4) reviewing items; 5) conducting a pilot study; and, 6) selecting items for analyses. Inter-rater agreement and item-level for content validity index for the first draft of the SPAQ (47 items) were .99 and .89, respectively. Face validity was conducted with the second draft of the SPAQ (48 items). A pilot study, based on the dimensions, household, occupation, leisure time, and transportation, was conducted with the third draft (77 items). To obtain the final draft of the instrument (55 items), content categorization of activities was conducted with the third draft of the SPAQ, based on the literature’s descriptions of the dimensions of physical activity and the deletion of items participants, in the pilot study, did not perform.

Phase II, psychometric property evaluation, used Pearson’s correlation coefficient to analyze the concurrent validity, predictive validity and test-retest reliability. An acceptable concurrent validity coefficient was obtained by examining a relationship between the SPAQ and Actigraph readings. The SPAQ presented good predictive validity, as indicated by its correlation with the six minute walk test. However, a non-significant correlation between the SPAQ and both physical function and body fat was found. The 7-day test-retest reliability coefficient of the SPAQ indicated good reliability. Although the concurrent validity presented a modest coefficient, the SPAQ was shown to be relatively convenient, simple and suitable for administration. These results were similar to those found among Western populations.

Keywords: elderly Thais, physical activity, questionnaire development and testing

 

Downloads

How to Cite

1.
Visuthipanich V, Sirapo-ngam Y, Malathum P, Kijboonchoo K, Vorapongsathorn T, Winters-Stone KM. Physical Activity Questionnaire Development and Testing among Elderly Community-Dwelling Thais. PRIJNR [Internet]. 2013 Feb. 6 [cited 2024 Nov. 6];13(4):249-67. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/6467