การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ : บทบาทของพยาบาลอนามัยชุมชน

ผู้แต่ง

  • นงนุช วงศ์สว่าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช
  • ธนะวัฒน์ รวมสุก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สิ่งแวดล้อมในบ้าน , ผู้สูงอายุ, บทบาทของพยาบาลอนามัยชุมชน

บทคัดย่อ

     สิ่งแวดล้อมในบ้านเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ  การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจส่งผลให้ความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมของวัยสูงอายุแตกต่างจากคนกลุ่มวัยอื่น  การจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุเป็นการดำเนินการดูแล ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในและรอบบริเวณบ้านให้เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ แนวคิดสำคัญที่นำมาใช้ในการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้าน ได้แก่ แนวคิดบ้านที่ถูกสุขลักษณะ (Healthy home) แนวคิดความเหมาะสมระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม (Person-Environment Fit) และแนวคิดการบูรณาการสถานที่ (Place Integration) กระบวนการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุตามบทบาทของพยาบาลอนามัยชุมชน มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อสุขภาพ การวินิจฉัยปัญหาสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อสุขภาพ การวางแผนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อสุขภาพ  การดำเนินการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อสุขภาพ และการประเมินผลการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านเพื่อสุขภาพ

References

Department of older persons. (2020). Report survey of elderly in 77 provinces at Retrieved April 24, 2021 from https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306-335_0.pdf

Cutchin, M. P. (2004). Using Deweyan philosophy to rename and reframe adaptation-to-environment. American Journal of Occupational Therapy, 58(3),303–312.

Golant, S. M., (2003). Conceptualizing time and behavior in environmental gerontology: A pair of old issues deserving new thought. The Gerontologist, 43(5), 638-648.

Kompayak, J., & Durongritichai, V. .(2001). Community health nursing : concept, principle and nursing practice. Bangkok: Jood Thong Publishers, Co. (In Thai)

Lawton, M. P., & Nahemov, L. (1973). Ecology and the aging process. In C. Eisdorfer & M. P. Lawton (Eds.), The psychology of adult development and. Washington, DC: American Psychological Association

Lawton, M. P. (1986). Environment and aging. New York, NY: Center for Study of Aging

Lecovich Esther. (2014). Aging in place: From theory to practice. Anthropology Notebooks, 20(1): 21-33.

Load R., Stephen; Menz B.,Hylton, & Sherrington.(2006). Home environment risk factors in older

people and the efficacy of home modifications. Age and Aging, 35-S2:ii55-ii59.

Rowles, G. D. (1983) Place and personal identity in old age: Observations from Appalachia.

Journal of Environmental Psychology, 3(4), 299–313.

Saegert, C. & Susan. (2003). Healthy Housing: A structured of published evaluations of US Interventions to improve Health by modifying housing in the United States,1990-2001. American Journal of Public Health. 93(9).1471-1477.

Scheidt, R. J., & Norris-Baker, C. (2004). The general ecological model revisited: Evolution, current status, continuing challenges. In H.-W. Wahl, R. J. Scheidt, & P. G. Windley (Eds.), Annual review of gerontology and geriatrics. Aging in context: Socio-physical environments (pp. 34–58). New York: Springer.

Wongsawang, N., Jeenkhowkhum, D., Boonsiri, C., Melarplont, S., Somboonsit, J., Khamthana, P., & Glomjai, T. (2017). Home environmental risks for falls and indecent of falls in older adults. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10,(3), 2492-2506.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29