การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอย่างครบวงจร

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ มนูญญา โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี
  • สกาวเดือน ขำเจริญ โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ , การดูแลแบบครบวงจร , ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

     การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอย่างครบวงจร 2) ศึกษาประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอย่างครบวงจร  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10 คน และผู้ป่วยรับบริการในโรงพยาบาลราชบุรีจำนวน 60 คน  ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอย่างครบวงจร แบบสอบถามความเหมาะสมของแนวทางการดูแลผู้ป่วย และแบบบันทึกผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการทดสอบค่าที

       ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยกลุ่มทดลองด้านการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบหลังการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง และด้านภาวะแทรกซ้อนที่พบภายใน 1 สัปดาห์ อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์  2) คะแนนเฉลี่ยการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบหลังการผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง โดยรวมของกลุ่มทดลองน้อยกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) คะแนนเฉลี่ยการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบภายใน 1 สัปดาห์  โดยรวมของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับจึงควรเป็นการดูแลแบบครบวงจร ตั้งแต่เตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดจนถึงการติดตามผลการรักษา เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

 

References

Chongsakul, A., Yoosomboon, N. & Karuncharernpanit, S. (2020). Development of comprehensive care model for one day surgery of Phaholpolpayuhasaena hospital, Thailand. Region 4-5 Medical Journal, 39(1), 109-125. (in Thai)

Department of medical services .(2020). Annual inspection report of Ministry of Public Health:

fiscal year 2020. Retrieved March 15, 2021 from https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/200923160083590621.pdf.

Division of Medical Technical and Academics Affairs, Department of Medical Services, Ministry of

Public Health. (2019). Suggestion in the development of one day surgery 2019 (1st ed.). Nontaburi: The Printing Business Office of The War Veterans Organization of Thailand. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Information Technology and International Relations Division. Nursing Division, Ministry of Public Health .(2019). Annual Nursing Report 2013-2019. Conference literature “Workshop on Nursing Executive Network: Innovation and excellent nursing service system towards sustainable health system in New Normal lifestyle”. Maruay Garden Hotel 23-25 November 2020. (in Thai)

Kamolwit, S., & Rattanapathumwong, P. (2014). Development of clinical practice guidelines for pain management in postoperative patients in Ranonghospital. Journal of Nursing Devision, 41(2), 23-40. (in Thai)

Kanmali, Y., Kanmali, T. & Kongpan, S. (2020). The development of one-day surgery model, Kalasin hospital. Mahasarakham Hospital Journal, 17(2), 183-195. (in Thai)

Mitchell, M. (2013). Home recovery following day surgery. Amburatory Surgery, 18(4), 158-174.

Phanibut, N., Changjeraja, W., & Noktong, S. (2019). The result of development one day surgery

to the satisfaction of clients at Buengkan hospital. Nursing, Health, and Education Journal, 2(4), 50-56. (in Thai)

Pokpermdee, P. (2020). 20 Year national strategic plan for public health (B.E. 2561-2580). Journal of Health Science, 29(1), 173-186. (in Thai)

Ponsa, U., & Suwan, P. (2017). Development of clinical nursing practice guideline for Complications prevention hip fracture in senile Udonthani hospital. Udonthani Hospital Medical Journal, 25(3), 259-282. (in Thai)

Srisaard, B. (2013). Statistics for Research (5thed.). Bangkok: Suweeviriyasarn. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28