ความต้องการการพยาบาล และการพยาบาลที่ได้รับของมารดาหลังคลอดที่มีบุตรอยู่ด้วยโดยเร็วหลังคลอด โรงพยาบาลหัวหิน

ผู้แต่ง

  • ปราณีต คุณเครือ โรงพยาบาลหัวหิน จัหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

ความต้องการการพยาบาล, การพยาบาลที่ได้รับ, มารดาที่มีบุตรอยู่ด้วยโดยเร็วหลังคลอด

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการการพยาบาลกับการพยาบาลที่ได้รับของมารดาหลังคลอดที่มีบุตรอยู่ด้วยโดยเร็วหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดปกติที่เข้ารับบริการในหอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลหัวหิน จำนวน 302 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการการพยาบาลและการพยาบาลที่ได้รับของมารดาหลังคลอดที่มีบุตรอยู่ด้วย  ซึ่งมีความเที่ยงด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.912  วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

         1. ความต้องการการพยาบาลของมารดาและการพยาบาลที่ได้รับโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=92, SD=0.44; M=3.03, SD=0.44)

         2. ความต้องการการพยาบาลของมารดาหลังคลอดที่มีบุตรอยู่ด้วยโดยเร็วหลังคลอดด้านการดูแลบุตรและด้านการเตรียมตัวกลับคืนสู่สภาพเดิมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมากกับการพยาบาลที่ได้รับ (r=.970, r= .962, p< .01 ตามลำดับ) ในขณะที่ด้านจิตใจและอารมณ์และด้านร่างกายมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการพยาบาลที่ได้รับ (r =.895, r =.854, p< .01 ตามลำดับ)

     ดังนั้นการปรับปรุงกระบวนการพยาบาลผู้ป่วยหลังคลอดให้มีคุณภาพจึงควรส่งเสริมกิจกรรม  การพยาบาลที่ตอบสนองทั้งความต้องการการพยาบาลและการพยาบาลที่มารดาหลังคลอดได้รับ  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ

 

References

Department of Health, Ministry of Public Health .(2019). Criteria for evaluating maternal and child health standards. Nonthaburi: Ministry of Public Health. (in Thai)

Ekakul, T. (2000). Research methods in behavioral and social sciences. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat Institute. (in Thai)

Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

Hospital Development and Accreditation Institute (2019). Hospital and health service standards (4th ed.). Nonthaburi: Hospital Development and Accreditation Institute (Public Organization). (in Thai)

Maslow A. H. (1943). Theory of human motivation. Psychological review, N.Y. McGraw-Hill

Ravinit, P. & Sattam, A. (2016). Factor associated with the metabolic syndrome in Chamab Sub-district, Wang Noi District, Ayutthaya Province. Association of Private Higher Education Institutions of Thailand Journal, 5(2), 33-47. (in Thai)

Rubin, R. (1967a). Attainment of the maternal role part1 process. Nursing Research, 16(3), 237-245.

Sanguansiritham, U. (2017). Virginia Henderson: An important figure of the nursing profession. Master thesis (Nursing), Chiang Mai University. Chiang Mai. (in Thai)

Sisaaad, B. (2013). Introduction to research (9th Ed.). Bangkok : Suwiriyasan Publisher. (in Thai)

Somanusorn, M. (2011). Obstetric Nursing Version 2. (9th ed.). Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute. (in Thai)

World Health Organization .(2017). World report on health policy and systems research. Geneva: World health Organization. Retrieved March 12, 2021 from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/255051/9789241512268-eng.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29