ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วิภาวรรณ บันธ์แก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • ปริญญาภรณ์ ธนะบุญปวง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • จิริยา อินทนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

ความร่วมมือในการรับประทานยา, ผู้ป่วยสูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

      การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ 2) อิทธิพลของปัจจัยคัดสรรต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 143 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ความร่วมมือในการรับประทานยา ความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และการสื่อสารทางสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า

              1. คะแนนเฉลี่ยความร่วมมือในการรับประทานยา ความเชื่อด้านสุขภาพ และการสื่อสาร ทางสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M=2.98, SD=0.48; M=3.02, SD=0.71; M=2.87, SD=0.61) ตามลำดับ และคะแนนเฉลี่ยแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับต่ำ (M=2.46, SD=0.55)

              2. ความเชื่อด้านสุขภาพ แรงสนับสนุนทางสังคม และการสื่อสารทางสุขภาพสามารถร่วมกันทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาได้ร้อยละ 39.50 (R2adj =.395, p<.01) โดยความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสามารถทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาสูงสุด (Beta= .513; p<.01) รองลงมา ได้แก่  การสื่อสารทางสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม (Beta =.334, p<.05; Beta =.262, p<.05) ตามลำดับ

        ดังนั้นการส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานควรคำนึงถึง การปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ การสื่อสารทางสุขภาพเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างยั่งยืน

 

References

Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Michigan: Charles B. Slack.

Booranaklas, W. (2017). Correlation between self-care behaviors, family relationship, and happiness of thae elderly at community saimai destrict in Bangkok metropolitan. Journal of The Police Nurse, 9(2), 25-33. (in Thai)

Chayarut, P., Roojanavech, S., & Chatdokmaiprai, K. (2019). The effects of health risk communication program among diabetic retinopathy patients in a community Samut Sakhon Province. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(3), 206-217. (in Thai)

Darun, P., & Kairat, P. (2019). Health literacy factors influencing on health behavior of population in Bueng Kan Province. Journal of Department of Health Service Support, 15(3), 71-82. (in Thai)

Department of Disease Control. (2019). The report of the situation of NCD (DM HT and risk factors in 2019). Retrieved March 2, 2021 from http://www.ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf. (in Thai)

Department of older persons. (2019). Measures to implement national agenda on aged society: 6 sustainable 4 change. Retrieved March 13, 2021 from http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1551432930-155_0.pdf. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Boston: Addison-Wesley.

Homrot, S., & Keeratisiro, O. (2020). Factors affecting medication adherence of type 2 diabetic patients in Bang Krathum hospital, Phitsanulok province. Journal of Safety and Health, 13(1), 82-92. (in Thai)

Khlaihong, W., Jitramontree, N., & Wirojratana, V. (2016). Factors predicting medication adherence behaviors among older adults with type 2 diabetes. The journal of faculty of nursing Burapha University, 24(1), 65-75. (in Thai)

Kumpiriyapong, N., & Sasat, S. (2017). The effect of health belief programme on medicine used behavior in older persons with Hypertension. Royal Thai Navy Medical Journal, 44(3), 67-83. (in Thai)

Ratzan, S. C., Payne, J. G., & Bishop, C. (1996). The status and scope of heath communication. Journal of Health Communication, 1(1), 25 -41.

Sisaaad, B. (2013). Introduction to research (9th ed.). Bangkok : Suwiriyasan Publisher. (in Thai)

Sroisong, S., Rueankon, A., Apichantramethakul, & K., Nunta, N. (2017). Perceived self-care behavior among patients with type 2 diabetes mellitus with poor glycemic control. Journal of Phrapokklao Nursing College, 28(2), 93-103. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-29