การรับรู้ความมีคุณค่าในตนเองของหญิงที่มาคลอดโรงพยาบาลตำรวจ

ผู้แต่ง

  • วิไล ลิ้มพานิชภักดี โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

การรับรู้ , คุณค่าในตนเอง , หญิงที่มาคลอด

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความมีคุณค่าในตนเองของหญิงที่มาคลอดโรงพยาบาลตำรวจ กลุ่มตัวอย่าง เป็นหญิงที่มาคลอดโรงพยาบาลตำรวจจำนวน 104 ราย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินการรับรู้ความมีคุณค่าในตนเองมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

          1. การรับรู้ความมีคุณค่าในตนเองในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 95 (M = 2.95, SD=.723) โดยด้านพฤติกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับสูง (M = 3.10, SD=.664 รองลงมา ด้านความคิดคะแนนเฉลี่ย 3.04 อยู่ในระดับสูง (M = 3.04, SD=.744) และด้านความรู้สึกมีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.71, SD=.760)

           2. การรับรู้ความมีคุณค่าในตนเอง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านพฤติกรรมข้อรายการที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือความรับผิดชอบอยู่ในระดับสูง (M = 3.17, SD=.643) ด้านความคิดข้อรายการที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การมองโลกในแง่ดีอยู่ในระดับสูง (M = 3.19, SD=.707) และด้านความรู้สึก ข้อรายการที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือมีความรู้สึกเชื่อมั่นอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.73, SD=.753)

      ดังนั้นพยาบาลห้องคลอดควรให้การพยาบาลร่วมกับส่งเสริมการรับรู้ความมีคุณค่าในตนเองของผู้รับบริการเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ ความหวัง และนำไปสู่การทำหน้าที่มารดาที่ดีต่อไป

References

Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs N.J.: Prentice-Hall.

Fraser, D. M., & Cooper, M. A. (2003). Myles textbook for midwives. London: Cherchill Livingston.

Jiraphokkul, S. (2018). Legal measures on the protection and support of mothers during During before and after childbirth In the case of maternity leave according to the Constitution of the Kingdom of Thailand (B.E. 2560). Master thesis (Law), Dhurakij Pundit University, Bangkok. (in Thai)

Khampila, W., Supavititpatana, B., Chaloumsuk, N. (2019). Self-esteem, marital relationship, and parenting stress of first-time adolescent mothers. Journal of Nursing and Health Care, 37(1), 96-107. (in Thai)

Khumkerd, C. (2016). Appreciation of the value of breastfeeding in mothers after hospital birth. Chulalongkorn. Master thesis (Mental Health), Chulalongkorn College, Bangkok. (in Thai)

Police Hospital .(2021). Statistical data of people receiving services at the maternity ward, Police Hospital, fiscal year 2021: Police Hospital (in Thai)

Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton university press.Chicago.

Rosenberg, M. (1979). Self-Esteem adolescent problems and: Modeling reciprocal effects. American Sociological Review, 54, 1004-1018.

Sawai, J.P., Bahari, F., Ibrahim, H. & Rejab, Z.K.. (2011). The relationship between Economic hardship, self esteem and parental behavior among low-income mothers. Journal Kemanusiaan, 9(2), 59-76. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30