การรับรู้พฤติกรรมการบริการสุขภาพด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ปีการศึกษา 2562
คำสำคัญ:
การรับรู้, พฤติกรรมการบริการ, หัวใจความเป็นมนุษย์ , นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษาทุกชั้นปี ประชากรเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 486 คน เครื่องมือที่ใช้แบบประเมินอัตลักษณ์บัณฑิตสถาบันพระบรมราชชนก และแบบสัมภาษณ์การบริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
พฤติกรรมบริการสุขภาพด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 อยู่ในระดับดีมาก (μ=4.26, σ=0.59) ส่วนชั้นปีที่ 1, 2 และ 4 อยู่ในระดับดี (μ=4.26, σ=0.59; μ=4.37, σ= 0.58; μ=4.41, σ=0.56) นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เกิดการเรียนรู้ในการเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เข้าใจมุมมองที่แตกต่างระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เข้าใจผู้รับบริการตามสภาพที่เป็นจริง และเกิดการพัฒนาทักษะทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 เข้าใจปัญหาในระบบสุขภาพที่ยังไม่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ช่องว่างในการให้บริการสุขภาพ
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยจำเป็นต้องวางแผนให้ทุกรายวิชาทางการพยาบาลจัดการเรียนการสอนที่เน้นความเข้าใจมนุษย์ ชุมชน สังคมและทำความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของผู้รับบริการเพื่อนำมาผสมผสานความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ
References
Bloom, B.S.. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I: Cognitive Domain. New York: McKay.
Damruk, P., Keawmanee, P., Srisangkaew, S., & Artarsa, C. (2018). Effects of a Teaching Program Integrated with Humanized Nursing Care Theory in Mental Health Problems Practicum on Humanized Nursing Care among Nursing Students in Boromarajonani College of Nursing, Yala. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(3), 248-261. (in Thai)
Koolnaphadol, T., Laokosin, N., Pimmas, S., & Prabhakar, K. (2019). Humanized care behaviors of Graduated Nurses in Bachelor of Nursing Science Program, Boromarajonani College of Nursing, Changwat Nonthaburi. MAHASARAKHAM HOSPITA, 16(1). 90-97. (in Thai)
Laokosin, N., Boonprasop, S., & Vichienrat, S. (2019). The Quality of Graduated Nurses in Bachelor of Nursing Science Program, Boromarajonani College of Nursing, Changwat Nonthaburi. MAHASARAKHAM HOSPITAL JOURNAL, 16(3), 43-52. (in Thai)
Praboromarajchanok Insititute, Ministry of Public Health. (2012). Bachelor of Nursing Science (Curriculum Revision 2012). Praboromarajchanok Insititute, Ministry of Public Health. (in Thai)
Stern, D. T., Cohen, J. J., Bruder, A., Packer, B. et al. (2008). Teaching Humanism, Perspectives in Biology and Medicine, 51(4), 495-507.
Thiankumsri, K., Bundasak, T., Rojana, S., Pama, S. (2018). The Humanized Care for Crisis Patients: Perception from Nursing Students’ Practicum. Journal of MCU Peace Studies, 6(4), 1320-1333. (in Thai)
Vick, M., Dannenfeldt Gudrun, & Shaw, B. (2017). Do students training to be health-care workers have compassionate attributes? Kai Tiaki Nursing Research, 8(1), 16–22.
Watson, J. (1997) The Theory of Human Caring: Retrospective and Prospective. Nursing Science Quarterly, 10, 49-52.
Watson, J. (1999). Nursing human science and human care: A theory of nursing. Boston, MA: National League for Nursing.
Yuan, H. & Williams, B.A. (2008). A systemic review of selected evidence on developing nursing students’ critical thinking through problem-based learning. Nurse Education Today. 28, 657-663.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา