ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ โรงพยาบาลบ้านโป่ง
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, วัณโรคปอดรายใหม่, การรับรู้ความสามารถตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองและพฤติกรรมการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 20 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย 4 ฉบับ ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงโดยทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า
1. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนการใช้โปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยทุกด้านของทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน
2. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังการใช้โปรแกรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยทุกด้านของทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<. 01, p< .01 และ p<. 01) ตามลำดับ
จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วย วัณโรคปอดรายใหม่มีความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพไปใช้กับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ทุกราย รวมทั้งควรติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
References
Bunchuai, U. (2015). The effects of health promotion program for hypertension elderly case study: Thri tong Tumbon Health Promoting hospital Chai buree District, Surat thani Province. Journal of Community Health Development Quarterly Khon Kaen University, 3(2), 231-244. (in Thai)
Bureau of Tuberculosis, Department of Diseases control. (2021). Tuberculosis information report fiscal year 2018. National Buddhism Office Printing house. (in Thai)
Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201-1210.
Jirawatkul, A. (2014). Statistics in research. How to use appropriately. Bangkok: Wittayapat. (in Thai)
Mukarsa, S. & Sampaothong, K. (2017). Effects of a health promotion program by applying the theory of empowerment in new smear positive pulmonary tuberculosis patients. Journal of Medicine and Health Science, 24(1), 13-27. (in Thai)
Polit, D.F. & Beck, C.T. (2004). Nursing Research: Principles and Methods (7th ed). Philadelphia: Lippincolt.
Statistics Report Outpatient Ban Pong Hospital. (2020). Nursing mission group, Ban Pong Hospital Ratchaburi (Unpublished document). (in Thai)
Suwannakeeree, W. & Picheansathian, W. (2018). Medication adherence enhancement in patients with Pulmonary Tuberculosis. Journal of Nursing and Health Sciences, 10(2), 1-12. (in Thai)
Trakulram, S & Tritipsombut, J. (2018). Effect of a promoting self-breast examination program among women aged 45-54 years in Huayorakoung Community, Hindat Sub-district, Dankhunthot District, Nakhon Ratchasima Province. The Office of Disease Prevention and Control 9th Nakhon Ratchasima Journal, 24(2), 46-56. (in Thai)
World Health Organization. (2020). Global tuberculosis report 2020. Retrieved March 20, 2021, https://www.who.int/publications-detail-redirect/9789240013131.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา