การพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มีภาวะสายตาเลือนรางด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ : การเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ อุ่นภักดิ์ โรงพยาบาลราชบุรี จังหวัดราชบุรี
  • กัลยา ศรีมหันต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

โรคต้อกระจก, ภาวะสายตาเลือนราง, การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

บทคัดย่อ

      การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยต้อกระจกที่มีภาวะสายตาเลือนราง กรณีศึกษาตามสภาพชีวิตจริง 2 ราย ที่รักษาในโรงพยาบาลราชบุรี เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นเวชระเบียนผู้ป่วยในและสภาพชีวิตจริง ประเด็นการเปรียบเทียบได้แก่ ชีวิตตามสภาพจริง การพยาบาล   ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อน ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา ผลการศึกษาพบว่า

            กรณีศึกษาที่ 1  ได้รับการวินิจฉัยเป็นต้อกระจกข้างขวา  รับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เป็นต้อหิน 2 ข้าง ศึกษาชีวิตของผู้รับบริการ ผู้ป่วยต้องไปทำงาน เหตุผลไม่มารับการผ่าตัด กลัวว่าไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม เยี่ยมบ้าน ความจำเป็นส่วนตัวที่มีหนี้สินและที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว คือไม่ต้องการเป็นภาระของบุตร

            กรณีศึกษาที่ 2  ได้รับการวินิจฉัยเป็น ต้อกระจกข้างขวา ต้อกระจกสุก ได้รับการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม มีภาวะแทรกซ้อน เลนส์ตาบวม ตาซ้ายบอด พักรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 6  วัน ศึกษาชีวิตของผู้รับบริการตามสภาพจริง คำแนะนำก่อนกลับบ้าน ต้องให้คำแนะนำให้กับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโดยตรง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

      ดังนั้นพยาบาลควรเน้นการให้คำแนะนำ/สุขศึกษา ไม่เน้นรูปแบบที่ทุกคนจะต้องได้เหมือนกัน เป็นการให้คำแนะนำตามสภาพจริงของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาและข้อจำกัดของผู้รับบริการแต่ละราย เพื่อให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้อย่างเหมาะสม

References

Alastair, K. O. (2018). Oxford handbook of ophthalmology. Oxford: `Oxford University.

Ariyapoowong, K., Praiudom, S. & Saleewong, T. (2020). The Effect of Educative Supportive

Nursing System on Self-care Behaviors of Cataract Surgery Patient., Sukhothai Hospital. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 2(3),17-30. (in Thai)

Ausayakhun S, Nimitkul K, Khwanngern K. (2015). Patients with ocular manifestrations in congenital craniofacial anomalies ant Chiang Mai University Hospital. Chiang Mai Med J., 54(4), 157-6111. (in Thai)

Dolah, K., Sawamichai, P., Laepankaew, A. & Janchay, M. (2018). Elderly self-reliance and the

guidance for self independence of elderly a case study of Hua-Khao Subdistrict, Singhanakorn District, Songkhla Province. The 1st conference on humanities and social sciences: wisdom power for sustainable development. 109-114. Songkhla: Songkhla Rajabhat University. (in Thai)

Kitsripisarn, S. & Pankasikorn, P .(2019). Glaucoma Patients’ Adherence to Therapy:

Qualitative Research. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 34(4), 19-33. (in Thai)

Lekskul, A. (2019). Ophthalmology Ramathibodi. Bangkok: Faculty of Medicine Ramathibodi

Hospital, Mahidol University. (in Thai)

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.).

St.Louis: Mosby.

Pane, A. (2018). The neuro-ophthalmology survival guide. [Philadelphia, Pa.]: Elsevier.

Srimahunt, K. (2018). The health care according to real life conditions. (1st ed.). Bangkok:

Charansanitwong Printing. (in Thai)

Thuangtong, A., Chuenkongkaew, W., Singalavanija, A. (2015). Basic Ophthalmology and Examination. Bangkok: Siriraj Press, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31 — Updated on 2021-12-31

Versions