ผลของการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ในผู้ป่วยโรคเอดส์ที่คลินิกรับยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลบ้านโป่ง
คำสำคัญ:
โปรแกรมสุขศึกษา, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , 3อ.2ส., ผู้ป่วยโรคเอดส์บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบโปรแกรมสุขศึกษาเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเอดส์อายุ 20–60 ปี รักษาที่คลินิกยาต้านไวรัสเอดส์ โรงพยาบาลบ้านโป่ง เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยเป็นโปรแกรมสุขศึกษาเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. และแบบสอบถามการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired –T test ผลการวิจัย พบว่า หลังใช้รูปแบบโปรแกรมสุขศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพตาม 3อ.2ส. เพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติตาม 3อ.2ส. พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องมากขึ้นทุกประเด็น
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมสุขศึกษาที่พัฒนาขึ้นสามารถเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมสุขศึกษาเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ไปใช้กับผู้ป่วยโรคเอดส์ในคลินิกผู้ป่วยนอกและควรติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
References
Ban Pong Hospital .(2017). Medical Statistical Report . Retrieved March 12, 2021 from http://www.bph.moph.go.th/stat (in Thai)
Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. New York: Academic Press
Department of Disease Control .(2018). Guidelines for HIV Testing and Prevention in Thailand 2017 First Edition Bangkok : Sahamit Printing and Publishing Company Limited. (in Thai)
Division of Health Education Department of Health Service Support. (2018) Guidelines for health behavior change at the provincial level, Ministry of Public Health. (in Thai)
Division of Health Education. (2018). Health Literacy and Health Behavior Assessment form, according to 35.25. People aged 15 years and over. (in Thai)
Darikanon S. (1998). Survey on Quality of Life and Suicidal Thoughts among HIV-Infected People. Journal of Mental Health, 5(3), 25 – 57. (in Thai)
Kitpreedasudrit, B. (2006). Research Methodology in Social Sciences (9th ed.). Bangkok: Jamjaree Product. (in Thai)
Kitrungruangkul, L. (1993) . Referring to Premruthai Noimuenwai, quality of life and related factors and the quality of life of HIV-infected and AIDS patients. Thesis Master of Public Health (Public Health Administration) Sukhothai Thammathirat Open University 1993 – 21. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา