การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคร่วม : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ

ผู้แต่ง

  • มาดี เหลืองทองเจริญ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะโรคร่วม

บทคัดย่อ

       โรคหลอดเลือดสมองเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะโรคร่วม 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยและแบบบันทึกข้อมูล  ประเด็นการเปรียบเทียบ ได้แก่ ข้อมูลการเจ็บป่วย แบบแผนสุขภาพ การพยาบาล  ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ภาวะแทรกซ้อน และข้อมูลเกี่ยวกับการรักษา ผลการศึกษาพบว่า

            กรณีศึกษาที่ 1 มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์วินิจฉัย Acute Ischemic stroke ให้ยาละลายลิ่มเลือด ชนิด rt-PA  อาการผู้ป่วยกลับมาปกติ ไม่พบความพิการหลงเหลือ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ  

            กรณีศึกษาที่ 2 มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์วินิจฉัย Acute Ischemic stroke ให้ยาละลายลิ่มเลือด ชนิด rt-PA  เมื่อ  CT brain ซ้ำ Acute large left MCA territorial infarction. พบความพิการหลงเหลือ คือ Aphasia แขนขาขวา อ่อนแรง ระดับ 4  

      จากการศึกษาโดยภาพรวมพบความแตกต่างทั้งด้านปัจจัยส่วนบุคคลและการพยาบาลผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพยาบาลวิชาชีพมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤต ดังนั้นพยาบาลวิชาชีพจึงจำเป็นต้องมีทั้งสมรรถนะและความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการของผู้ป่วย

 

References

Jaroonchai, S. (2018). Nursing of stroke patients : a case study of 2 cases. Journal Mahasarakham Hospital, 15(1), 148-155. (in Thai)

Kongnil, S. (2014). Nursing of ischemic stroke patients. Journal of the Association of Preventive Medicine of Thailand, 4(1), 90-97. (in Thai)

Nijaphai, S. (2017). Nursing care of ischemic stroke patients in the community Case study. Journal of the Association of Preventive Medicine of Thailand. 7(3). 322-327. (in Thai)

Office of Policy and Strategy Ministry of Public Health. Public health statistics data for the years 2005-2012. Retrieved March 11, 2022 from http://bps.ops.moph.go.th/Healthinformation/ill-in42-48.htm. (in Thai)

Petcharuang, N., Pariyathik, P., & Thongklieng, W. (2013). A Study of Patient Care Stroke continues in a community health center. Journal of Army Nursing, 14(1), 25-34. (in Thai)

Pinyo, P., et al. (2015). Development of care for stroke patients. by the participation of Community in the Northeastern Context. Songklanagarind Nursing Journal. 35(2). 93-97. (in Thai)

Phasukantaphak, N., Suthit, S. & Pinyopasakul, W. (2016). Guidelines for nursing sick patients.Cerebrovascular disease for general nurses. Institute of Neurology, Department of Medical Affairs, Ministry of public health. (in Thai)

Robphairi, J. (2015). Nursing care of ischemic stroke patients : a case study of 2 cases. Journal.Mahasarakham Hospital. (online). 12(2), 10-13. (in Thai)

The Stroke Prevention in Atrial Fibrillation investigators. (1992). Predictors of thromboembolism in atrial fibrillation. I. Clinical features of patients at risk. Ann Int Med, 116, 6-12. (in Thai)

World Stroke Organization (WSO) .(2017). Campaign Acvocacy Brochures. Retrieved March 10, 2022 from http://www.worldstrokecampaign.org/images/wsd-2017/brochures-2017/ WSD_bronchure_FINAL_sponsor_pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27

ฉบับ

บท

บทความกรณีศึกษา