ความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พนิดา เอมโกษา โรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์กร , คุณภาพชีวิตในการทำงาน , ความเครียดในการทำงาน , พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความเครียดในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน ความเครียดในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน  43 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความผูกพันต่อองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความเครียดในการทำงาน ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.78, 0.90 และ 0.90 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

           1. คะแนนเฉลี่ยภาพรวมความผูกพันต่อองค์กร อยู่ในระดับมาก (M= 43, SD=0.43) คุณภาพชีวิต ในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง (M= 3.27, SD=0.47) และความเครียดในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับน้อย (M= 2.50, SD=0.47)   

           2. คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับปานกลาง (r=.650, p<.01) และความเครียดในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับความผูกพันต่อองค์กรในระดับต่ำ (r=-.371, p<.05)

      ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลจึงควรจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงานให้แก่พยาบาลวิชาชีพเพื่อเพิ่มความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่ความคงอยู่ในวิชาชีพและการพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรทางการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพต่อไป

 

References

Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.

Edward Hallowell. (2009). Managing Stress. translated by Nattawaj Kijratanakoson. Bangkok:

Expernet. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton

Mifflin.

Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organization Development and Change (3rd ed.). St. Paul, MN: West.

Insuwan, P. (2014). Organization climate and quality of work life of professional nurse in the nursing task group at Sriratana hospital, Si Sa Ket Province. The Journal of Boromrajonani College of Nursing Nakhonratchasima, 20(1), 55-66. (in Thai)

Janthai, K. (2016). Community quality of life. Retrieved September 1, 2022 from http://mgronline.com/qol/detail/9590000014010. (in Thai)

Kerdsang, P. (2019). Organizational commitment of professional nurses in Nakhon Pathom hospital. (Master Degree of Arts), Krirk University, Faculty of Liberal Arts. (in Thai)

Krates, J., Patanavanichanan, N., Pratanvorapanya, W., Trainattawan, W., Thangkratok, P. & Srithumsuk, W. (2021). Factors influencing work retention of professional nurse under the Ministry of Public Health. Journal of Health Science, 30(3), 561-573.

Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steers R. M. (1982). Employee organization linkage: The psychology of commitment absenteeism and turnover. New York: Academy Prees.

Nursing Department, Bangphae Hospital .(2021). The report of quality for nursing service indicators in 2021, Ministry of public health. (in Thai)

Sungkapate & Srivichai .(2017). Relationships between Quality of work life and organizational

commitment as perceived by nurses at the community hospital sin Pathum Thani province. EAU heritage Journal science and technology, 11(2), 227-238. (in Thai)

Thongkaeo T, & Pitiporn, S. (2018). Stress in workplace and its related factors among registered nursed at outpatient department of a hospital in Bangkok. Chula Med J, 62(2), 197-209. (in Thai)

Watcharaporn whyrom. (2020). A study in the quality of working life and maintaining organizational engagement of government officers: A case study in generation X. Master thesis, Mahidol University, Bangkok. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28