ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • เสกสรรณ์ สกุลเอื้อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมบริโภคอาหาร , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน , ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ , ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มประชากรศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุข เขตอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จำนวน 307 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไคสแคว์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัย พบว่า

  1. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 37.8 
  2.   ลักษณะส่วนบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
  3.   ปัจจัยนำ ได้แก่ ทัศนคติการบริโภคอาหาร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05
  4. 4. ปัจจัยเอื้อ ได้แก่  ความสะดวกในการซื้ออาหาร ความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งอาหารและการได้รับนโยบายส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอเมืองสมุทรสงคราม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05
  5. ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคอาหารจากสื่อและบุคคลต่างๆ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05

       จากผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีสุขภาพที่ดี เป็นผู้นำด้านสุขภาพให้กับประชาชนและประยุกต์ใช้กับกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้

     

References

Buasri, S., Suntranon, A., Ponpaipan, M. (2021). Path Analysis of Factors Affecting Food

Consumption Behavior and Nutritional Status of The Home-Bound and Bad-Bound Elders in Mueang District, Chiang Rai Province. Journal of The Police Nurses. (January – June) 13(1),52-64. (in Thai)

Department of Disease Control, Division of Non-Communicable Diseases, Ministry of Public

Health. (2019). Non-Communicable Diseases Statement Report 2018th: Diabetes and Hypertension and Risk Factors. Akson Graphic and Design Publication. (in Thai)

Duangphasuk, U. (2022). The causal of some factors affecting health behaviors and health levels of late adolescents. Case study of Samut Songkhram Province Area Health 5th Conference at Harmony Resort, Kaeng Krachan Phetchaburi. (in Thai)

Nonsurat, W. (2018). Food Consumption Behavior of Elderly Regional Health 8 Mahasarakhrm Hospital Journal 16 (3) (September - December) 2019. (in Thai)

Nunoy, O. (2019). The Study of Nutrition Knowledge and Food Consumption Behavior of Students in Rajabhat Rajanagarindra University Bangkhla Center. Journal of Rajanagarindra (January – June), 16(35), 87-95. (in Thai)

Nutrition Division, Department of Health, Ministry of Public Health. (2003). Food-Based Dietary

Guildlines For Thai Good Health. The War Veterans Organization of Thailand Printing, Bangkok. (in Thai)

Ratanopas, W., Sukkasem, T. (2021). Food Consumption Behavior in the People of Khlong Phikrai

Sub-district, Phrankratai District, Kamphaeng Phet Province. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal (January – April), 16(1), 58-65. (in Thai)

Taro Yamane(1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd.New York.Harper and Row Publications

Vadakkanchary J. (2007). Natural healing: A way of life balancing for body and mind. Suanmeena Printing, Bangkok. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28