ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก
คำสำคัญ:
การรับรู้ , แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ , การแพทย์ฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ป่วย ญาติ และผู้นำส่งผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน 150 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และแบบสอบถามเพื่อประเมินการรับรู้โอกาสเสี่ยง ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ไคว์สแควร์ ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ป่วย ญาติ และผู้นำใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินเมื่อมีภาวะวิกฤตฉุกเฉิน อยู่ในระดับปานกลาง (M= 7.11, SD= 1.44) การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรค อยู่ในระดับปานกลาง (M= 85.82, SD= 6.18; M= 32.44, SD= 4.15) ตามลำดับ
2. การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ อุปสรรคมีความสัมพันธ์กับการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้รับบริการโรงพยาบาลดำเนินสะดวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ดังนั้นจึงควรสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยงความรุนแรงของความเจ็บป่วยและการรับรู้ประโยชน์ รวมทั้งอุปสรรคในการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อให้ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ได้ มากขึ้น
References
Aphibansri, P., & Kesapradit, B. (2018). An analysis of the emergency medical service system
and the factors related to the emergency medical service behavior among the population at the Chulachomklao Royal Military Academy. Journal of Army Nursing, 19(1). 291-299. (in Thai)
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of Education Objectives : The classification of education
goal. New York : Longman.
National Institute of Emergency Medicine. (2016). The 3rd national emergency medicine
master Plan 2017 – 2021. Bangkok: Union Creation Co., Ltd. (in Thai)
Phonsen, K., Wachiradilok, P., Siriprabuk, T. & Khanunruek, N.. (2016). Situation and factors affects the non-emergency medical services of patients admitted to the accident department in Thailand. Bangkok. (in Thai)
Srisaat, B. (2013). Statistical methods for research. (2nd Edition). (5th printing) Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)
Vichaiya, S. (2018). Factors related to the use of the emergency medical system of urgent emergency patients. and critically ill patients in Fang Hospital, Chiang Mai. Chiang Rai Journal of Medicine, 10(1). 93-102. (in Thai)
World Health Organization: WHO. (2020). Prehospital trauma care systems. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา