การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเองด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง คลินิกชะลอไตเสื่อม โรงพยาบาลวัดเพลง

ผู้แต่ง

  • ปิยะดา ด้วงพิบูลย์ โรงพยาบาลวัดเพลง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ทักษะการจัดการตนเอง , พฤติกรรมรับประทานอาหาร , การชะลอไตเสื่อม

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเองด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหารในการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรัง  กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยเป็นรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการตนเองด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ได้แก่ การทบทวนความรู้ การจัดการตนเอง ฝึกทักษะการจัดการตนเองทั้ง 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ตั้งเป้าหมาย 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การประวมลและประเมินข้อมูล 4) การตัดสินใจ 5)การลงมือปฏิบัติ 6) การสะท้อนตนเอง มีระยะเวลาการดำเนินกิจกรรม 24 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับประทานอาหารอย่างง่ายของสมาคมโรคไตเรื้อรังแห่งประเทศไทย แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะในการจัดการตนเองด้านพฤติกรรมการรับประทานอาหาร กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

       ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะให้นำโปรแกรมการจัดการตนเองไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรัง เพื่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยไตเรื้อรังในคลินิกชะลอไตเสื่อมอย่างต่อเนื่องและขยายผลโดยศึกษาระยะยาวเพื่อติดตามความยั่งยืนของพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

 

References

Busaban, Theory of color therapy. Retrieved September 20, 2022 form https://cities.trueid.net/article/

Creer, L.T. (2000). Self-management of chronic illness. Handbook of self-regulation. California: Academic. 601-629. Retrieved September 19, 2022 form https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780121098902500494

Kongpibarn, S. (2017). The effect of self-management program on eating behaviors of patients with heart failure. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing. 28(2), 82-96. (in Thai)

Rotsukon, V. (2014). Dietary management for slow progression in patients with diabetic kidney

disease. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(1), 22-28. (in Thai)

Ruangsakulrat, M., Rattanapridanan, K., Wangwiwatcharoen, N. & Ashinthrangkun, S. (2017). Effect of Color to Medical Student’s Memory, Srinakharinwirot University, Ongkharak Campus. 1-10. (in Thai)

Suthisansanee, T. Color Psychology. Retrieved September 16, 2022 form https://thewisdom.co/content/color-psychology-in-marketing/ (in Thai)

The Nephrology Society of Thailand. (2012). Handbook for the management of patients with early stage chronic kidney disease, Union Company Ultra Violet Co., Ltd. (in Thai)

The Nephrology Society of Thailand. (2015). Recommendations for pre-treatment care for chronic kidney disease patients Kidney replacement. (in Thai)

Varitsakul, R. (2014). Dietary management for slow progression in patients with diabetic kidney disease. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(1), 22-28. (in Thai)

Unaphak, P. (2015). The Correlation Factors of Self-Care Behaviors to Prevent Complications among Patients with Chronic Kidney Disease at Somdetphraphutthalertla Hospital in Samutsongkhram Province. Journal of Public Health Burapha University. 10(2), 44-54. (in Thai)

Wattana C. (2015). Supporting self-management: strategies for promoting disease control. Journal of Phrapokklao College of Nursing, 26, 117-27. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28