ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกหมอครอบครัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ชฎาภรณ์ บุตรบุรี

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อสุขภาพ , โรคหลอดเลือดสมอง , การรับรู้ , พฤติกรรมป้องกันโรค , ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

      การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค การรับรู้ความสามารถในการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง  2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค การรับรู้ความสามารถในการป้องกันโรคกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 160 คน  คัดเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อสุขภาพ  และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง  วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

          1. ระดับการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยภาพรวมและระดับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.80, SD= 0.27; M=3.70, SD= 0.28) ตามลำดับ 

           2. การรับรู้ความสามารถของตนเกี่ยวกับการปองกันโรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (r=-.531, p< 0.01) การรับรู้อุปสรรคเกี่ยวกับการปองกันโรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (r = .275, p< 0.01) 

       ดังนั้นการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองควรส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเพื่อให้เกิดความมั่นใจและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

References

Boehme, A. K., Esenwa, C., & Elkind, M. S. (2017). Stroke risk factors, genetics, and prevention. Circulation research, 120(3), 472-495.

Chaisang, U., Chaisang, N., Cheha, N., Arleedeema, N. (2021). Guidelinesfor Fall Prevention among Older Persons: A Study on CorrelationsBetween Perceived Self-Efficacy and Fall Prevention Behaviorsin YalaProvince. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(1), 293-307. (in Thai)

Compichai, P. (2021). The Relationship between Health Beliefs and Stroke Preventive Behaviors in Diabetes Mellitus Patients with Hypertension. Master's thesis. Huachiew Chalermprakiet University. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

GBD 2015 Mortality and Causes of Death Collaborators. (2016). Global, regional, and National life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015. Lancet, 388(10053), 1459-1544.

GBD 2019 Stroke Collaborators. (2021). Global, regional, and national burden of stroke and its risk factors, 1990-2019: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. The Lancet Neurology, 20, 795-820.

Ketsingh, W. (1995). Statistics for research. Bangkok: Research Division, Office of the National Education Commission. (in Thai)

Khantichitr, P., Promwong, W., Keawmanee, C., Charoenukul, A. (2021). Health Belief Model in the Prevention of Corona Virus Disease 2019 (COVID-19) among people in Ubon Ratchathani Province. Journal of Health Science Boromarajonani College of Nursing Sunpasitthiprasong, 5(2), 39-53. (in Thai)

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice.

Rosenstock, I. M. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health education monographs, 2(4), 354-386.

Suebsuk, P., Pongnumkul, A., & Sareewiwatthana, P. (2013). Predicting factors of health promoting behaviors to preventive environmental lung diseases among motorcycle taxi drivers in Bangkok metropolitan area. Nursing Science Journal of Thailand, 31(1), 48-58. (in Thai)

Suwannaront, S., Chaphadit, J., Tonkhet, C., Bonkhunthod, P., Chaiwong, N. (2022). Medication use behavior of elderly patients with chronic diseases receiving care at Ban Thungsamiantra Health Promoting Hospital of Ban Kham Subdistrict, Chatturat District, Chaiyaphum Province. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals, 37(3), 649-658. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-26