ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบริการของบุคลากรในโรงพยาบาลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ราตรี คงเจริญ โรงพยาบาลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, พฤติกรรมบริการ, บุคลากรทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับพฤติกรรมบริการของบุคลากร แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการสนับสนุนทางสังคมของบุคลากร และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมบริการของบุคลากรในโรงพยาบาลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากร จำนวน 96 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมบริการ ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค รายองค์ประกอบ ได้แก่ แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วม การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมบริการ เท่ากับ 0.88, 0.84, 0.91 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า

1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วม การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมบริการของบุคลากร อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.08, SD=0.48; M= 2.48, SD=0.62; M= 2.76, SD=0.57 และ M= 3.01, SD=0.48) ตามลำดับ

2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วม การสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมบริการของบุคลากรได้ร้อยละ 54.70 (R2adj =.547, p<.05) โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มีความสามารถทำนายพฤติกรรมบริการสูงสุด (Beta= .635; p<.01) รองลงมา ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม และการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม (Beta =.461, p<.05; Beta =.201, p<.05) ตามลำดับ

ดังนั้นการส่งเสริมพฤติกรรมบริการของบุคลากรจึงควรสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานการสนับสนุนทางสังคม และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมบริหาร เพื่อให้มีกำลังใจปฏิบัติงานที่นำไปสู่พฤติกรรมบริการที่ดีต่อไป

 

References

Alderfer, C. P. (1972). Existence, relatedness, and growth: Human needs in organizational settings.

Boonya, P. (2017). Happy workplace and social support affect to efficiency of staff in hospital. Integrated Social Science Journal, 3(2), 145-164. (in Thai)

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.

Hinkle, D. E. (1998). Applied statistics for the behavior sciences (4th ed.). New York: Houghton Mifflin.

House, J. S. (1981). Work stress and social support (addison-wesley series on occupational stress). Boston: Addison-Wesley Educational Publishers Inc.

Jinayong, K. (2015). Meta-analysis of the relationship between supervisory social support and working behavior of subordinates. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 714-728. (in Thai)

Medical record, Kuiburi Hospital .(2022). Report of risk management in 2022. (in Thai)

Ngarmlert, N. (2016). Motivation affecting to performance efficiency of staffs in public warehouse organization. Master thesis (Business Administration), Bangkok University, Bangkok. (in Thai)

Punyasim & Chanasit .(2017). Administration Involved affecting the effectiveness of education under the jurisdiction of secondary educational service area office 9 . Silpakorn Educational Research Journal, 9(1), 299-313. (in Thai)

Saksriphayak, A. (2016). Factors related to the work performance of Thai employees working in Singapore’s service industry. Master's Degree, Bangkok University. (in Thai)

Sisaaad, B. (2013). Introduction to research (9th ed.). Bangkok : Suwiriyasan Publisher. (in Thai)

Suriya, J., Aungwattana, S., & Suankaew, S. (2020). Social support and health behavior of the elderly of the elderly club of Sungmen District, Phrae Province. Nursing Journal volume, 47(3), 267-276. (in Thai)

Swansburg, R. C., & Swansburg, R.J. (2002). Introduction to management and leadership for nurse manager (3rd ed.). Boston: Jone & Bartlett.

Unlama & Chienwatanasuk .(2019). Achievement motivation affecting supporting staff’s performance and retention: a case of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The Journal of Development Administrator Research, 9(3), 126-138.

World Health Organization. (2001). WHO health and health system responsiveness survey. http://www.who.int/responsiveness/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25