การพัฒนารูปแบบการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • กมลพร เขมาธร โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การชะลอการเสื่อมของไต, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

      การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ใช้กระบวนการวิจัย 3 ระยะ 7 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) กลุ่มผู้ให้บริการ เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยนอกโรคเรื้อรัง ทั้งหมด 24 คน คัดเลือกแบบเจาะจง 2) กลุ่มผู้รับบริการเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะ 1-4 จำนวน 355 คน คัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยได้รูปแบบ PORN-DN Model ประกอบด้วย 1) การวางแผน (P-Planning) จัดให้มีคลินิกชะลอไตเสื่อม    การบริการแบบรายกรณี บริการสุขภาพเชิงรุก จัดทำคู่มือ 2) การจัดโครงสร้าง (O-Organizing) จัดตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกันเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ และกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน 3) การสนับสนุน (R-Reinforcement) จัดอบรมให้ความรู้ จัดให้ผู้ดูแลทำการคัดกรองความเสี่ยง 4) การส่งเสริมให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน (N-Normative) จัดให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเป็นรายบุคคล 5) การจัดการข้อมูล (D-Data management) ทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ระบบการนัดหมาย   6) การเชื่อมโยงดูแลต่อเนื่อง (N-Networking) จัดให้ผู้ดูแลในชุมชนมีการพูดคุยปรึกษาผ่านสื่อออนไลน์และใช้แบบบันทึก

      ผลการใช้รูปแบบการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในกลุ่มผู้ให้บริการพบมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบในระดับมาก ในกลุ่มผู้รับบริการพบมีความพึงพอใจต่อการดูแลในระดับมากที่สุด ผลลัพธ์ทางคลินิกมีระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และค่าอัตราการกรองของไตในเกณฑ์ปกติหลังใช้รูปแบบมากกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

      ดังนั้น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จึงควรพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลควบคู่เพื่อให้เกิดการปรับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

 

References

Database Damnoen Saduak Hospital. (2022). Database chronic kidney disease report. (in Thai)

Ingsathit, A., Thakkinstian, A., Chaiprasert, A., Sangthawan, P., Gojaseni, P., Kiattisunthorn, K., Ongaiyooth, L., Vanavanan, S., Sirivongs, D., Thirakhupt, P., Mittal, B., Ajay K. Singh, A. K., & Thai-SEEK Group. (2010). Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrology Dialysis Transplantation, 25(5), 1567-1575. (in Thai)

Jitchan, P., Yindesuk, T., & Chuaboonchai, I. (2019). Effect of chronic care model for slow

progression of kidney in Tumbon Nongkhon Amphoe Meuang Ubonratchathani Province.

Journal of the Royal Thai Army Nurses, 20(2), 251-261. (in Thai)

Kidney Association of Thailand. (2022). Medical practice guidelines for caring for patients

with chronic kidney disease before kidney replacement therapy 2022. (1st edition).

Bangkok: Hypertension Association of Thailand. (in Thai)

Pantong, U. (2018). Chronic kidney disease management with chronic care model at

primary care in Nakhonsithammarat Province. Maharaj Nakhon Si Thammarat Medical

Journal, 1(2), 48-58. (in Thai)

Serewiwattana, M, Thongtanunam, Y, & Limakara, S. (2018). Development of quality care

for delaying progression of kidney disease in chronic patients using the chronic care

model of a sub-district health promotion hospital. Thai Journal of Nursing and Midwifery

Practice, 5(1), 45-56. (in Thai)

Teemueangsai, W, & Paksupasin, P. (2021). Development of delayed chronic kidney disease model in primary CKD Clinic Mueang District Mahasarakham Province, Mahasarahham Hospital Journal, 18(3), 125-135. (in Thai)

The Nephrology Society of Thailand. (2022). Clinical practice recommendation for the

evaluation and management of chronic kidney disease in adults 2022 (revised edition), Bangkok, Srimuang Printing CO., LTD. (in Thai)

Wagner, E. H, Austin, BT., Davis, C, Hindmarsh, M, Schaefer, J, & Bonomi, A. (2001). Improving chronic illness care: translating evidence into action. Health Aff (Millwood),20(6) 64-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29