การจัดการความรู้ สู่แนวทางปฏิบัติที่ดี I CAN DO Model เพื่อเขียนโครงร่างวิจัยขอทุนภายนอก
คำสำคัญ:
โครงร่างวิจัย, การจัดการความรู้, แนวทางปฏิบัติที่ดี, วิทยาลัยพยาบาลบทคัดย่อ
การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่รวบรวมองค์ความรู้ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้นำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ นำไปสู่การพัฒนาตนเองและองค์กรได้ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก จึงได้นำกระบวนการจัดการความรู้ ร่วมกับการดำเนินการตามหลักวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) มาพัฒนาแนวปฏิบัติในประเด็นการเขียนโครงร่างวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก ในรูปแบบที่เรียกว่า I CAN DO Model ซึ่งมีขั้นตอน 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) I (Inspiration) สร้างแรงจูงใจ โดยจัดทีมวิจัยที่ประกอบไปด้วยนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นกลางและรุ่นอาวุโส เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเลียนแบบนักวิจัยที่ประสบความสำเร็จในการขอทุน 2) C (Collaboration) มีความร่วมมือกันในองค์กร โดยจัดตั้งคลับวิจัยและคลินิกวิจัย เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือการทำวิจัย 3) A (Appreciation) มีการชื่นชมอาจารย์ที่ได้รับทุนทั้งรูปแบบออนไลน์และ เผชิญหน้า 4) N (Norm) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในวิทยาลัย ฯ อย่างสม่ำเสมอ 5) D (Dream team) สร้างทีมงานที่มีทั้งนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นกลางและรุ่นอาวุโส และ 6) O (Opportunity) มองหาโอกาส โดยการส่งข้อเสนอเพื่อขอรับทุนจากหน่วยงานภายนอกเพิ่มขึ้น จนทำให้วิทยาลัยประสบความสำเร็จ โดยมีสัดส่วนทุนวิจัยภายนอกต่อทุนวิจัยภายใน และจำนวนเงินสนับสนุนงานวิจัยต่อจำนวนอาจารย์ประจำเป็นไปตามเกณฑ์การตรวจรับรองคุณภาพการศึกษา
References
Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx 2020-2023. (2020). Measurement, Analysis, and Knowledge Management. http://www.edpex.org/2020/11/edpex-2563-2566.html
KM PCKCN. (2019). Guidelines for writing research proposals for external funding, Fiscal Year 2020. https://www.facebook.com/groups/405632046717410
Knowledge management manual to a learning organization (Revised Edition 2022).(2022). The concept of knowledge management for the learning organization. Faculty of Nursing, Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health. (in Thai)
Kucharska, W., & Erickson, G. S. (2023). Tacit knowledge acquisition & sharing, and its influence on innovations: A Polish/US cross-country study. International Journal of Information Management, 71, 102647. https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2023.102647
Office of the Public Sector Development Commission. (2008). Organization improvement toolkits: Section 4 - measuring, analyzing, and managing knowledge. https://www.opdc.go.th/content/search/web
Oktari, R. S., Munadi, K., Idroes, R., & Sofyan, H. (2020). Knowledge management practices in disaster management: Systematic review. International Journal of Disaster Risk Reduction, 51, 101881. https://doi.org/10.1016/j.ijdrr.2020.101881
Ontam N. (2020). PDCA (Deming Cycle) Management Techniques. Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand, 1(3), 39-46. (in Thai)
Policy and Quality Development Work, Faculty of Science, Mahidol University. (2023). Knowledge management. https://quality.sc.mahidol.ac.th/plan_and_policy/km/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทีตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี และผลงานวิชาการหรือวิจัยของคณะผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นของบรรณาธิการหรือผู้จัดทํา