ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการประเมินทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองและการปฐมพยาบาลขั้นต้นต่อความรู้ ทักษะการประเมินทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุนันท์ บรรเทิง โรงพยาบาลเจ้าคุณไพบูลย์ จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชลธิชา บุญศิริ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง , การปฐมพยาบาลขั้นต้น , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการประเมิน ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง และการปฐมพยาบาลขั้นต้น ต่อความรู้ ทักษะการประเมิน ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยเป็นโปรแกรมการส่งเสริมการประเมินทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง และการปฐมพยาบาลขั้นต้น  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล  ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และทักษะการประเมิน Stroke Fast Track ตรวจสอบความเที่ยงด้วยการใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค เท่ากับ 0.84  ตามลำดับ และแบบวัดความรู้ใช้สูตร KR-20 เท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีผลการวิจัย พบว่า

1.หลังเข้ารับโปรแกรมคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระยะหลังทดลองสูงขึ้นระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001)

2.หลังเข้ารับโปรแกรมค่าเฉลี่ยทักษะการประเมินทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ในระยะหลังทดลองสูงขึ้น ระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001)

ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุข ควรได้รับการเตรียมความพร้อมในการประเมินภาวะเสี่ยงของหลอดเลือดสมองร่วมกับการส่งเสริมทักษะการประเมินทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มศักยภาพการดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

References

Angkhan, P., & Sukwan, C. (2022). Development of a model for accessing the emergency medical service system for stroke patients through a network Kantharalak District Sisaket Province, Journal of Primary Public Health (Northeast). Primary Health Care Journal (Northeastern Edition), 38(2), 52-63. (in Thai)

AungKharn, P., Sukawan,C., (2023). The effectiveness of the stroke assessment skill development program of village volunteers.https://www2.nkh.go.th/ nkh/journal/doc/31.pdf. (in Thai)

Chanagarn, C., & Phutthikhamin N. (2016). Perceptions on stroke risk factors warning signs treatment and preventive behaviors among health risk people. Joumal of Nursing Science & Health, 39(1), 70-77. (in Thai)

Dharmasaroja, P., Ratanakorn, D., Nitinon, S., Charnnarong, N., Chutinet, O., Keandoungchun, J., Hanchaiphiboolkul, S. Nilanont, Y., Udommongkol, J., Tantirittisak, T., Mungtaweephongsa, S., & Supachutikul, A. (2015) . Certified Primary Stroke Center ; CPSC. Journal of Thai Stroke Society, 14(2), 75-83. (in Thai)

Lamduan, K., Uthen, S., and Wanida, P. (2018). Effects of the program on knowledge enhancement and the ability on to assess and refer stroke patients of Bo Thong District Public Health Volunteers, Chonburi Province. Journal of the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn, 7(2), 127-136. (in Thai)

Sangseechan, T. (2015). Providing knowledge and skill training programs to caregivers to reduce anxiety in caring for stroke patients at Ban Phaeo Hospital. Veridian E-Journal,Slipakom University, 8(3), 572-595. (in Thai)

Suwintrakorn, C., Kalampakorn, S., & Rawiworraku, T. (2019). The effects of self-effificacy enhancement program for health volunteers on stroke surveillance and prevention. Thai Journal of Nursing, 68(1), 39-48. (in Thai)

World Stroke Organization.(2019). Annual reports. http://www.world stroke.org/about.wso/annual-reports

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-03